การศึกษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลชุมแพ

ผู้แต่ง

  • อรรถวิทย์ สมทรัพย์

บทคัดย่อ

โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุหากได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษาทันท่วงที มีโอกาสที่จะมีการได้ยินดีขึ้นหรือกลับเป็นปกติ วิธีการรักษาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน คือการให้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามผลการรักษายังไม่มีความชัดเจนว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการรักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุและเพื่อทราบผลของสเตียรอยด์ต่อการรักษาโรค

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยทบทวนเวชระเบียนของกลุ่มผู้ป่วยโรคประสาทหูเสื่อมแบบเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชุมแพ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2561 จำนวน 144 ราย

ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยจำนวน 144ราย เป็นเพศชาย 56คน เพศหญิง 88คน สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงอยู่ที่ 1ต่อ1.57 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ59.8ปี ทั้งหมดมาด้วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันข้างเดียว โดยโรคเกิดกับหูข้างขวาจำนวน64คน หูข้างซ้าย80คน อาการที่พบร่วมมากที่สุดคืออาการหูอื้อร้อยละ70.8 ร้อยละ47.2 ไม่พบโรคประจำตัว ได้รับยาสเตียรอยด์จำนวน 87คน ไม่ได้รับสเตียรอยด์ 57คน กลุ่มไม่ได้รับยาแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อย คือ1)ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยจำนวน27คน และ 2)กลุ่มผู้ป่วยที่ปฏิเสธการกินยาจำนวน30คน ผลการติดตามการรักษาที่ระยะเวลา3เดือน พบว่ากลุ่มได้รับยาสเตียรอยด์การได้ยินดีขึ้นร้อยละ 52.9 กลุ่มไม่ได้รับยาการได้ยินดีขึ้นร้อยละ66.7 โดยกลุ่มย่อยสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยการได้ยินดีขึ้นร้อยละ77.8 กลุ่มปฎิเสธการกินยาการได้ยินดีขึ้นร้อยละ 56.7 ผู้ป่วยร้อยละ94 จะฟื้นตัวภายใน 1เดือนแรก ผู้ป่วยอายุน้อยว่า60ปี มีการได้ยินดีขึ้นร้อยละ70 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับช่วงอายุ60ปีขึ้นไปซึ่งดีขึ้น ร้อยละ 47.3

สรุป : ผู้ป่วยโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบสาเหตุมีอัตราการฟื้นตัวของการได้ยิน ร้อยละ 58.3 การให้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานไม่ช่วยให้อัตราการฟื้นตัวของการได้ยินดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้รับยา ปัจจัยบ่งชี้ถึงการพยากรณ์โรคที่ดีคืออายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60ปี

คำสำคัญ : โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันชนิดไม่ทราบเหตุ, สเตียรอยด์

References

Somchai Srirompotong , Kwanchanok Yimtae. Sudden Sensorineural Hearing loss. Srinagarind Med J 2001; 16(3) 191-196.

Megighian D, Bolzer M, Barien V, et al. Epidimiological considerations in sudden hearing loss. Arch Otorhinolaryngol 1986;243:250-3.

ปารยะ อาสนะเสน. ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน. วารสารคลินิก 2554; 27(2) 127-130.

Mattox D. Sudden hearing loss decision making in otolaryngology. Philadelphia : BC Decker, 1984. 

Mattox D, Simmons F. Natural history of sudden hearing loss. Ann Otol Rhinol Laryngol, 1977; 86(4)463-480.

Byl FM. Sudden sensorineural hearing loss : 15 years experience with management considerations. In : Johnson JT, Derkey CS, Mandell-Brown MK, Newman RK, eds. Instructional courses. St Louis : Mosby Year Book, 1991:4:366-71.

Zadeh MH, Storper IS, Spitzer JB. Diagnosis and treatment of sudden-onset sensorineural hearing loss: a study of 51 patients. Otolaryngol Head Neck Surg. 2003 Jan;128(1):92-8.

Hirofumi Harada, Toshihiko Kato. Prognosis for Sudden Sensorineural Hearing Loss: A Retrospective Study Using Logistical Regression Analysis. The International Tinnitus journal, 2005;11(2) 115-118.

Wilson WR, Byl FM, Laird N. The efficacy of steroids in the treatment of idiopathic sudden hearing loss. A double-blind clinical study. Arch Otolaryngol. 1980 Dec; 106(12):772-6.

Conlin AE, Parnes LS. Treatment of sudden sensorineural hearing loss, II: a meta-analysis. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 2007;133:582-6.

Kwanchanok Yimtae, Somchai Srirompotong. Tinnitus. Srinagarind Med J 2002; 17(2) 136-140.

Clark, J.G. (1981). Uses and abuses of hearing loss classification. Asha, 23, 493-500.

Siegel LG. The treatment of idiopathic sudden sensorineural hearing loss. Otolaryngol Clin North Am. 1975 Jun;8(2):467-73.

Chen CY, Halpin C, Rauch SD. Oral steroid treatment of sudden sensorineural hearing loss: a ten year retrospective analysis. Otol Neurotol. 2003 Sep; 24(5):728-33.

Ganesan P, Kothandaraman PP, Swapna S, Manchaiah V. A Retrospective Study of the Clinical Characteristics and Post-treatment Hearing Outcome in Idiopathic Sudden Sensorineural Hearing Loss. Audiology Research. 2017;7(1):168.

Wei BPC, Stathopoulos D, O'Leary S. Steroids for idiopathic sudden sensorineural hearing loss. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, Issue 7.

วันดี ไข่มุกด์. ผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุด้วยยาสเตียรอยด์ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 ต.ค.-ธ.ค. 2545:278-283.

นภาพร สิงขรเขียว. ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน ประสบการณ์5ปีในโรงพยาบาลเลย. ขอนแก่นเวชสาร ปีที่25ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2544:192-200. 

Satit Khananthai. Factors Determining Treatment outcome in sudden sensorineural Hearing loss .Khon Kaen Medical Journal. volume36 no.2 2012:36-43.

เกียรติชัย จันปุ่ม. การศึกษาภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันที่ยังไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. แพทยสารทหารอากาศ 55, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2552) 83.

Byl F. M., Jr. Sudden hearing loss: Eeight years’ experience and suggested prognostic table. Laryngoscope. 1984 May; 94(5 Pt 1):647-61.

Kuhn M, Heman-Ackah SE, Shaikh JA, Roehm PC. Sudden Sensorineural Hearing Loss: A Review of Diagnosis, Treatment, and Prognosis. Trends in Amplification. 2011;15(3):91-105.

Lee HS, Lee YJ, Kang BS, Lee BD, Lee JS. A Clinical Analysis of Sudden Sensorineural Hearing Loss Cases. Korean Journal of Audiology. 2014;18(2):69-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24