ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กัญจน์ณิชา สุดชารี
  • นรุวรรณ เทิร์นโบล์
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม  อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงสำรวจใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีชื่อและอาศัยอยู่ในตำบลหนองขาม จำนวน 233 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแคว์ และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก  แต่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชนประกอบด้วย เพศ  สถานภาพการสมรส  ระดับการศึกษา  การได้รับข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วม  รวมทั้ง รายได้ และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชน

สรุป : ปัจจัยเกือบทุกตัวที่ศึกษาพบว่าที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการมูลฝอยในชุมชน เช่น เพศ   สถานภาพการสมรส  ระดับการศึกษา  รายได้  การได้รับข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนั้นการที่จะดำเนินการจัดการมูลฝอยในชุมชนให้สมบูรณ์ควรตระหนักถึงตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทั้งหมด เพื่อให้ชุมชนปราศจากมูลฝอยอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : การจัดการมูลฝอย, องค์การบริหารส่วนตำบล, ขยะชุมชน, มูลฝอย

References

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด . การดำเนินโครงการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ร้อยเอ็ด: สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด;2562.

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลหนองขาม . รายงานผลการดำเนินงาน องค์การบริหารตำบลหนองขาม.ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารตำบลหนองขาม จังหวัดร้อยเอ็ด ;2561.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองขาม . รายงานผลการดำเนินงาน. ตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข. สำนักงานสาธารณสุขอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด;2561.

วิทวัฒน์ สิงห์นาครอง. กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ในการจัดการมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด”
วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา, 2557; 5(11): 136-144.

ยศภัทร ยศสูงเนิน, วรรณภา รัตนวงค์ และนงนุช จันทร์ดาอ่อน. การศึกษาพฤติกรรมการจัดการ ขยะมลฝอยในชุมชนเทศบาลตาบลโคกกรวด. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคโปสเตอร์.63-69

ขวัญจิตต์ จันทร์นาหว้า และสุชาดา ภัยหลีกลี้. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนา สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(3): เมษายน-มิถุนายน 2557. : 265-271.

สุทธิพงศ์ เปรื่องค้า และอรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเกษตรในตำบล Lien Loc อำเภอ Hau Loc จังหวัด Thanh Hoa ประเทศเวียดนาม และ ตำบลนากว้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ,2556 ; 10 (1): 85-94.

นพดล จานชมพู . การศึกษาการจัดการขยะของชุมชนเทศบาลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. นครราชสีมา : คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556.

เฉลิมชาติ แสไพศาล .การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556 : 86.

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม . การศึกษาระดับพฤติกรรมด้านการจัดการขยะของคนไทย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม;2561:7.

เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์ และและสุมาลี พุ่มภิญโญ. ทัศนคติของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาต่อการจัดการขยะแบบ 3Rs. Journal of Community
Development Research (Humanities and Social Sciences) 2017; (10): 163-273)

ชุติมา ตุ๊นาราง, บุญจง ขาวสิทธิวงษ์ และกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วน ร่วมของประชาชนและแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 7(2): กรกฎาคม - ธันวาคม 2554. 35 – 48.

สมัชญา หนูทอง . ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. สูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา;2556: 72-75

สุภาวดี น้อยน้ำใส. การประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย แบบถูกหลักสุขาภิบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560. 77-88.

กัลยาณี อุปราสิทธิ์, ณรงค์ ณ เชียงใหม่ และวันทนีย์ ชวพงค์, พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขต เทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.6 (2): กรกฎาคม-ธันวาคม 2558. 164-171.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้านในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 12(1): มกราคม - เมษายน 2561:180-190.

สุกันยา บัวลาด. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลท่าสองคอน อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2560; 1349-1360.

มนัส สุวรรณ. การจัดการสิ่งแวดล้อม: หลักการและแนวคิด, กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์,2549.

สุธาสินี บุญมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดของประชาชนในและนอกเขตเทศบาลนครนครปฐม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์.46 (1): มกราคม-เมษายน 2559 .64.

จอมจันทร์ นทีวัฒนา และวิชัย เทียนถาวร. ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.25 (2): มีนาคม-เมษายน 2560: 316-330.

เขมะศิริ นิชชากร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการแยกขยะมูลฝอยของประชาชน ในเขต พญาไท กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพมหานคร;2546.

วรรณธณี กองจันทร์ดี. การจัดการขยะของผู้ค้าในตลาดสด ศึกษากรณีตลาดสดบางกะปิและตลาดสดนครไทย เขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร; 2555: 88-89.

Ekere., Mugisha. and Drake. Factors influencing waste separation and utilization among households in the Lake Victoria crescent, Uganda. Waste Management;2009: 29(12), 3047-3051.

Cohen, J.M. and N.T. Uphoff. Rural Development Participation : concept and Measures for Project Design Implementation and Ealuation. Rural Development Committee Center for international Studies, Cornell University;1997:7-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-01