การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย”

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ หมื่นแก้ว

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : โรคไตวายระยะสุดท้าย (CKD) เป็นปัญหาที่สำคัญของทางสาธารณสุขในปัจจุบัน เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายสูงจากโรคแทรกซ้อน การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง( CAPD) เป็นวิธีการรักษาบำบัดทดแทนไตที่จัดให้อยู่ในสิทธิขั้นพื้นฐานของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษา ลดภาวะคุกคามจากการเจ็บป่วยของโรคลงได้ 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาล

วิธีการดำเนินการ :  เป็นกรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบ CAPD และมีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง  เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน  สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ  ร่วมกับการสังเกต กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ใช้แนวคิด แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นกรอบในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : พบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็น End Stage Renal Disease ได้ทำ CAPD และมีภาวะติดเชื้อในช่องท้อง ให้ยา ATB  ทาง IV

กรณีศึกษาที่ 1 มีการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงหลังให้ยา ATB ผู้ป่วยอาการดีขึ้น สามารถ run CAPD ได้ตามปกติ แต่กรณีศึกษาที่ 2 มีการติดเชื้อในช่องท้องและมีภาวะเลือดออกในน้ำยา ทำให้มี blood clot อุดตันทำให้ไม่สามารถ run CAPD จากการ U/S whole abdomen เพื่อประเมินพบพังผืดในช่องท้องไม่สามารถ Revise CAPD ได้ จึง off TK catheter และทำ HD กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกันได้แก่ 1.ไข้ 2.ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดท้อง 3.ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค 4.มีของเสียคั่งในร่างกาย 5.ซีด 6.แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง 7.แบบแผนการปฏิบัติกิจกรรมเปลี่ยนแปลง 8. เสี่ยงต่อการสูญเสียภาพลักษณ์ 9.ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

ข้อวินิจฉัยที่แตกต่างกัน  คือ กรณีศึกษาที่ 1 พบว่า 1. มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ     2.เสี่ยงต่ออันตรายจากภาวะ Hypo-Hyperglycemia กรณีศึกษาที่ 2 พบว่า 1.มีภาวะน้ำเกิน 2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน HT  3. ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ  4. เสี่ยงต่อการสูญเสียหน้าที่ของ Vascular Access   5. วิตกกังวล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแผนการรักษา

ข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมให้พยาบาลประเมินภาวะสุขภาพที่เฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มนี้ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน และปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างครอบคลุม  และพัฒนาเป็นมาตรฐานปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลสำหรับบุคลากรพยาบาล

References

งานจัดการสารสนเทศ โรงพยาบาลขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโรงพยาบาลขอนแก่น[ข้อมูลอิเล็กโทนิกส์] โรงพยาบาลขอนแก่น :งานสารสนเทศ ; 2561.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. แนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง .กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น จำกัด(มหาชน) ; 2556.

พนิดา เทียมจรรยา, ชมนาด วรรณพรศิริและดวงพร หุ่นตระกูล . การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 5(3) : 92 – 103; 2554.

วรรณมงคล เชื้อมงคล และคณะ. ความรู้และการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ณ.โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. ศรีนครินเวชสาร ,31 (1) ; 25549

วิพร เสนารักษ์ . การวินิจฉัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 9.ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์ ; 2549.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยซี เอ พี ดี .ขอนแก่น:หจก.ขอนแก่นการพิมพ์; 2544

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-02