การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวนทั้งสิ้น 138 ราย อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลคูขวางและตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบประเมินโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย : พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 24.32 เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านจิตสังคม และปัจจัยด้านชีวภาพ
สรุป : ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม สามารถนำมาเป็นแนวทางเพื่อวางแผนปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ได้
คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ ศาสนาอิสลาม
References
กรมสุขภาพจิต. 2561. สืบค้นเมื่อ 30 มี.ค. 62 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28157
วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ; โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554
นริสา วงศ์พนารักษ์. ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15 (3): 24 – 31.
สาวิตรี สิงหาด. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2559; 18 (3): 15 – 24.
Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications; 1974
Wongpakaran N, Wongpakaran T. Prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: a report from Northern Thailand. Psychogeriatrics. 2012; 12(1):11-17.
กฤติเดช มิ่งไม้ ,วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, สุวิทย์ เจริญศักดิ์ และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. การสำรวจความชุกของภาวะซึมเศร้า ของผู้ป่วยสูงอายุ ในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลศิริราช. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562 จากhttps://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/20492018-05-03.pdf
Dendukuri, N., & Cole, M. Risk Factors for Depression Among Elderly Community Subjects: A Systematic Review and Meta-Analysis. The American Journal of Psychiatry. 2009; 160(6): 1147-1156.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจและคณะ. เพศหญิงหรือความเป็นหญิงจึงนำมาสู่การเป็นโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 57(1) : 61-74.
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์และคณะ. ศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง. การพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6(1) : 27-37.
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2555; 22(3) : 88-99.
ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กรณีศึกษา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3) : 353-360.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม