การวินิจฉัยและการรักษาภาวะอ่อนแรงผู้ป่วยโรคขาดวิตามินซี (โรคลักปิดลักเปิด) : รายงานผู้ป่วย 2 รายในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ยมศรีเคน

บทคัดย่อ

โรคขาดวิตามินซี หรือโรคลักปิดลักเปิด เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยในเด็ก ในบางรายที่อาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตโดย อาการแสดงอาจมีเลือดออกที่เหงือก เหงือกบวม จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนัง มีไข้ ปวดกระดูกและไม่สามารถที่จะเดินได้ การวินิจฉัยของโรคขาดวิตามินซีทำได้โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานทางคลินิกและการประเมินผลจากถ่ายภาพรังสีของกระดูกท่อนยาว

กรณีศึกษานำเสนอผู้ป่วยเด็กชาย 2 รายที่มีอาการปวดขา อาการบวมรอบข้อเข่าและไม่ยอมยืนเดินเป็นระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ การตรวจโลหิตวิทยาพื้นฐานพบว่ามีโลหิตจาง ตรวจภาพถ่ายรังสีพบว่ามี osteopenia กระจายที่ metaphysis, dens metaphyseal band, lucent metaphyseal band ของกระดูกต้นขา, metaphyseal spur at distal femur ซึ่งเข้าได้กับโรคขาดวิตามินซี ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการเสริมวิตามินซี  หนึ่งเดือนต่อมา ความเจ็บปวดและอาการบวมลดลง เด็กสามารถเดินได้ ผลการตรวจภาพถ่ายรังสีซ้ำแสดงให้เห็นว่าความผิดปกติของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคขาดวิตามินซีได้เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถนำไปสู่ความผิดปกติของโครงกระดูก อาจสับสนกับโรคกระดูกอ่อน ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะอักเสบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความสงสัยโรคขาดวิตามินซีอยู่เสมอเพื่อวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีอาการทางกระดูกและข้อ

คำสำคัญ : การขาดวิตามินซี, โรคลักปิดลักเปิด

References

Kim HK. Metabolic and Endocrine Bone Diseases. In: Herring JA, editor. Tachdjian’s Pediatric Orthopaedics. Philadelphia : Elsevier; 2014: Pe582-e642.

Ratanachu-Ek S, Sukswai P, Jeerathanyasakun Y, Wongtapradit L. Scurvy in pediatric patients: a review of 28 cases. J Med Assoc Thai. 2003 Aug;86 Suppl 3: S734-40.

Anil Agarwal,et al. Scurvy in pediatric age group - A disease often forgotten? Journal of clinical orthopaedics and trauma , 2015 ; 6 : 101-7.

วลี สุวัฒนิกะ. โรคลักปิดลักเปิดในผู้ป่วยพิการทางสมอง: รายงานผู้ป่วย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2551;17 (supp2): SII338-43.

Tienboon P, Kulapong P, Thanangkul O. Infantile scurvy: the first reported case in northern Thailand. Chiang Mai Med Bull ,1983; 25: 25-30.

Patanavin P, Kruatrachoe A, Wongtapradit L, Nitipanya N. Scurvy in young children. Thai Pediatr Prog J ,1995;1:25-3.

สุนทรี รัตนชูเอก. โรคลักปิดลักเปิด. กุมารเวชสาร 2552;16(1):34-9

Chambial S, Dwivedi S, Shukla KK, John PJ, Sharma P. Vitamin C in disease prevention and cure: an overview.Indian J Clin Biochem. 2013;28:314-28.

Shah D, Sachdev H. Vitamin C (Ascorbic acid). In: Behrman R, Kliegman R, Stanton, eds.Nelson Textbook of Pediatrics. 20th ed. Philadelphia: Elsevier Science; 2016:329-331.e1

Cain M, Harris M, Kim K, Homme JH. Ascorbic acid deficiency (scurvy) in a toddler with restricted dietary intake presenting with“leg weakness”and a rash.ICAN: Infant Child Adolesc Nutr. 2014. http://dx.doi.org/10.1177/1941406414532685.

Harknett KM, Hussain SK, Rogers MK, Patel NC. Scurvy mimicking osteomyelitis: case report and review of the literature. Clin Pediatr (Phila). 2013;53:995-999

Li N, Li Y, Han Y, Pan W, Zhang T, Tang B. A highly selective and instantaneous nanoprobe for detection and imaging of ascorbic acid in living cells and in vivo.Anal Chem. 2014;86:3924e3930.

Alqanatish JT, et al. Childhood scurvy: an unusual cause of refusal to walk in a child. Pediatric Rheumatology 2015;13:23.

Gupta S, Kanojia R, Jaiman A, Sabat D. Scurvy: an unusual presentation of cerebral palsy. World J Orthop. 2012;3:58-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-03