การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สายชล ธัญธริษตรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ปัญหาทารกแรกเกิดในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่ทารกจะมีน้ำหนักตัวน้อยจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สุขภาพต่างๆ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกเสียชีวิต ภายในอายุ 28 วัน ด้วยอวัยวะและระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการให้พยาบาลทารกเกิดก่อนกำเนิด 2 รายและเพื่อเป็นแนวทางการให้การพยาบาล

วิธีการศึกษา : เป็นกรณีศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ การพยาบาล ทารกเกิดก่อนกำหนด 2 ราย

รายที่ 1 ทารกเป็นเพศหญิง มารดา อายุ 29 ปี G4P2 GA 26 Wks (NL ที่ ER) BW 1,280 gms APGAR Score 4,7,8T มารดามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ตามกำหนด แรกคลอดมีภาวะหายใจลำบากได้รับการดูแลโดยใส่ท่อ ช่วยหายใจและอยู่ในตู้อบ รวมวันนอนรักษา 63 วัน

รายที่ 2 ทารกเป็นเพศหญิง มารดาอายุ 14ปี G1P1 29 wks (NL) BW 1,080 gms APGAR Score 9,10,10 มารดา ไม่ได้ฝากครรภ์ ปฏิเสธโรคประจำตัว ทารกแรกคลอดมีภาวะตัวเย็นและหยุดหายใจได้รับการดูแลโดยใส่ท่อช่วยหายใจและ อยู่ในตู้อบ รวมวันนอนรักษา 68 วัน

สรุป : การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาของทารก เกิดก่อนกำหนดทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ตั้งแต่แรกรับ จนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยรวมปัญหาที่เกิดขึ้นกับทารกเกิดก่อนกำหนด จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่และการดูแลจากพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วทัน เวลา ปลอดภัย โดยการพยาบาลในภาวะวิกฤตเพื่อให้ทารกพ้นขีดอันตรายสามารถมี ชีวิตรอด ปลอดภัย และมีภาวะแทรกซ้อน น้อยที่สุด โดยนำกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการพยาบาลให้ที่ครอบคลุม การดูแลต่อเนื่อง ร่วมกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และยึดผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย เป็นศูนย์กลาง  

คำสำคัญ : ทารกเกิดก่อนกำหนด, การพยาบาล

References

ธีระ ทองสง: การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด. 5 ed. กรุงเทพมหานคร: บริษัทลักษมีรุ่ง จำกัด; 2555.

Cunningam FG. The Preterm Newborn. Williams Obstetrics 24th ed: McGraw-Hill Education; 2014.

สำนักบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาทารกแรกเกิด: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2556.

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย. คู่มือการดูแลทารกแรกเกิด 2. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ; 2555.

มนัสวี พันธวาศิษฏ์ . การพยาบาลทารกเกิดก่อกำหนด : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย . วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ,2558 ; 12 (2): 113-120 .

วีณา จีรแพทย์. การป้องกันการเจ็บป่วยของทารกแรกเกิดจากการดูแลอุณหภูมิกาย. เวชศาสตร์ คัดกรอง ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ. ยูเนี่ยนครีเอชั่น.กรุงเทพ ; 2556.

วัชรี ตันติประภา. Advance Neo-natal Care. กรุงเทพ : แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด ; 2556.

มาลัย มั่งชม. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะบิลลิรูบินสูงในเลือด. Essentionl Issues in Newborn Nursery. ธนาเพรส จำกัด : กรุงเทพ ;2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-04