การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกไขสันหลังและไขสันหลัง ในรูปแบบ Home ward : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิรมล จันทร์ธานี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การบาดเจ็บ ของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต ความพิการ ระยะเวลาการดูแลรักษาที่ยาวนาน ใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงการดูแลแบบ Home ward อย่างเหมาะสมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ทำให้ร่างกาย จิตใจ สังคม และฟื้นฟูให้กลับคืนมาได้ตามความคาดหวัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกไขสันหลังและไขสันหลังรูปแบบการดูแลแบบ Home ward

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กรณีศึกษาผู้ป่วยวัยรุ่นชายไทยอายุ 17 ปีที่ได้รับอุบัติเหตุขับมอเตอร์ไซค์ชนเข้ากับเสาไฟฟ้า จนสลบ มีแผลฉีกขาดบริเวณเข่าซ้าย ใต้เข่าซ้ายบวมผิดรูป เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดที่หลังและบริเวณท้อง หลังให้การรักษาในโรงพยาบาล 32 วัน ได้รับการจำหน่ายให้ไปรับการดูแลรักษาต่อที่บ้านในภาวะผู้ป่วยติดเตียงจากการประเมินสภาพปัญหาของการพยาบาลชุมชน ได้ตัดสินใจนำรูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ในรูปแบบการดูแลแบบ Home ward โดยมีการกำหนดเป้าหมายการบรรลุผลการดูแลร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ  ในระยะสั้นและระยะยาว

ผลการศึกษา : พบว่าผลการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการดูแลแบบ Home wardโดยการประเมิน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนและเดือนที่ 9  ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นนั่งและสามารถลุกขึ้นใช้รถเข็นเคลื่อนที่ได้เองสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยความร่วมมือของสหวิชาชีพที่ให้ความรู้แก่ ผู้ดูแลในครอบครัวได้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟู ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้

สรุป การนำกระบวนการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ  ตามแนวทางของมาตรฐานแนวทางจัดบริการดูแลต่อเนื่อง (Home Ward) การพยาบาลในชุมชนมาใช้ในการวางแผนการดูแลและการใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ ของการดูแลครอบครัวในพัฒนาการครอบครัว ให้พึ่งพิงตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

คำสำคัญ : การบาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลัง  การดูแลต่อเนื่องที่บ้านในรูปแบบ home ward care

References

ศุภาพร รัตนสิริ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

อภิชนา โฆวินทะ.คู่มือสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ฉบับปรับปรุงครั้งที่5. เชียงใหม่, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

พวงทอง กล่อมใจเย็น.Critical Care Nursing.การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลัง.เอกสารการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต.คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังสำหรับพยาบาลทั่วไป กรุงเทพฯ. บริษัทธนาเพลสจำกัด ; 2560 : เอกสารอัดสำเนา.

งานเวชสถิติสถาบันประสาทวิทยา. สถิติผู้ป่วยในสถาบันประสาทวิทยา.กรุงเทพมหานคร; 2551: เอกสารอัดสำเนา.

รัศมี เกตุธานี และคณะ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ ความสามารถในการงอข้อเข่า ในผู้ป่วยที่ได้รับการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าสะโพกเทียม. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม,2561;16(2):140-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-04