การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพชรรุ่ง อิฐรัตน์

บทคัดย่อ

 ความเป็นมา : โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปีและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอันเป็นภาวะวิกฤตที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตได้สูง การให้การพยาบาลผู้ป่วยในระยะวิกฤติ ระยะฟื้นฟูสภาพและการเตรียมจำหน่ายที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย จะส่งเสริมการหายและป้องกันการกลับมารักษาซ้ำได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

 วิธีการดำเนินงาน : เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จำนวน 2 ราย  เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม ช่วงเดือนมีนาคม 2562  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤติ ระยะการฟื้นฟูสภาพ และระยะก่อนจำหน่าย

 ผลลัพธ์ : ผู้ป่วยรายที่ 1  ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง  อายุ 59  ปี  มีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว มาด้วย 2 วันก่อนมา มีไข้ ไอหายใจหอบมีเสมหะ รักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน แล้วอาการทรุดลงจึงถูกส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและให้ออกซิเจนด้วยเครื่องช่วยหายใจ แพทย์รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ และยาละลายลิ่มเลือด จนอาการดีขึ้น สามารถถอดท่อช่วยหายใจและถูกส่งตัวกลับไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อปรับยาละลายลิ่มเลือดให้เหมาะสม รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล จำนวน 13 วัน  ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 64 ปี ไม่มีโรคประจำตัว มาด้วย 2 วันก่อนมา มีไข้ ไอ  หายใจหอบมีเสมหะขาวขุ่น รักษาที่โรงพยาบาลชุมชนอาการไม่ดีขึ้น จึงส่งตัวมา ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและให้ออกซิเจนด้วยเครื่องช่วยหายใจ แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนผู้ป่วยมีอาการคงที่พ้นภาวะวิกฤติ จึงได้ถอดท่อช่วยหายใจ ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวมเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล 8 วัน

 สรุป : การประเมินผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่อยู่ในภาวะวิกฤติอย่างรวดเร็วและการให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความรุนแรง ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้  ดังนั้น พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะความชำนาญที่เป็นพิเศษ รวมทั้งต้องมีแนวทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังจำหน่ายได้

  คำสำคัญ : การพยาบาล  โรคปอดอักเสบ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน  

References

เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา และพรรณิภา สืบสุข. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ใน ปราณี ทู้ไพเราะและคณะ ,บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ:หจก.เอ็นพีเพรส; 2555. :44-59.

อภิชาติ คณิตทรัพย์. ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ ใน ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลางและคณะ,บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2561:201-202.

วิภา รีชัยพิชิตกุล. โรคปอดอักเสบชุมชนรุนแรง ใน อนุพล พาณิชย์โชติและคณะ,บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน.ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559:159-167.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ : แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์ ; 2560.

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี พ.ศ.2560 [อินเทอร์เนต]. มหาสารคาม : [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กค. 2562].เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานผู้ป่วยในที่พบบ่อย[อินทราเนต]. มหาสารคาม : [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กค. 2562].

วิจิตรา กุสุมภ์ และอรุณี เฮงยศมาก.การจัดการทางเดินหายใจและเครื่องช่วยหายใจ. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ : แบบองค์รวม. ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์ ; 2560 : 95-156.

ขวัญฤทัย พันธุ. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ ; 2555.

ไพบูลย์ โชตินพรัตน์ภัทร และวิจิตรา กุสุมภ์.ภาวะหัวใจวาย. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ : แบบองค์รวม. ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์ ;2560 : 355-373.

Lionel A.et al. Infectious Disease Society of America/American Thoracic Society Consensus Guidelines on th Management of Community-Acquired Pneumonia in Adults. Clinical Infectious Disease 2007 ; 44: 27-72.

อภิญญา กุลทะเล . การป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยวิกฤติ. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ : แบบองค์รวม. ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ , สหประชาพาณิชย์ ;2560 : 521-524.

Michael,J.A,. and Neal,J.B. Fasthug:ICU Prophylaxis. Amer Soci Health System Phar ; 2011: 1-11.

ปราณี ทู้ไพเราะ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนและขนส่งออกซิเจน. ใน วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผันแปรของออกซิเจน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ; 2556 : 80-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-21