การศึกษาความแตกฉานทางสุขภาพในการดูแลเท้า และพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์
  • อนุชา ไทยวงษ์
  • วารุณี สมภักดี
  • วราพร อุตริ
  • รัศมี โยธา
  • รัศมี คำภู
  • วนิดา จันทรักษ์
  • วรรณวรัตน์ วาจารี
  • วันเฉลิม แหวนหล่อ
  • วันวิสา ชิณวงค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกฉานทางสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานในบริบทชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนด จำนวน 74 ราย  เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่1) แบบสอบถามความแตกฉานทางสุขภาพ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความแตกฉานด้านการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน  (gif.latex?\bar{X}=44.27, S.D.=.41) พฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน (gif.latex?\bar{X}=88.99, S.D.=8.72) อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าพฤติกรรมการดูแลเท้าด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำ คือ  ด้านการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า :  เรื่องการตัดเล็บเท้า(gif.latex?\bar{X}=11.95, S.D.=2.38)  และด้านการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง (gif.latex?\bar{X}=9.08, S.D.=1.55)

สรุป : ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะในด้านการดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังบริเวณเท้าและการตัดเล็บเท้า

คำสำคัญ : ความแตกฉานทางสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานปี 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 (เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2561); เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560.พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี : ร่มเย็น มีเดีย จำกัด. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. (เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2561);
เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน 2550-2558.[อินเทอร์เน็ต]. 2561.(เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2561); เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2561). ค่าเป้าหมายผู้ป่วยเบาและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2560 แยกรายเขตสุขภาพ จังหวัด อำเภอ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 (เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2561); เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3.

ขนิษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน คลินิกโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแพร่. (การค้นคว้าแบบอิสระ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

สารัช สุนทรโยธิน, ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร. ตำราโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ธิติ สนับบุญ, วราภณฑ์ วงศ์ถาวราวัฒน์. การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ:โครงการตำราอายุรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, มณฑนา อัจฉริยศักดิ์ชัย, ศักดา เปรมไทยสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่2. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(2) : 353-361.

ประไพพรรณ ศิริพันธ์บุญ นูร์ไอนี คลายนา, กาญจนา อุดมวงศักดิ์, และธัญญา ว่องไวรัตนกุล. พฤติกรรมการดูแลเท้าและผลการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลนครยะลาที่มาใช้บริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา. [อินเทอร์เน็ต]. 2555. (เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2561); เข้าถึงได้จาก: http://www.yrhyala.com/yrhres.

ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนนันท์. ตำราการป้องกันและรักษาโรคเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ร้านทริคธิงค์; 2556.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.
2558; 25(3) : 43-54.

Don Nutbeam. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67: 2072–2078.

World Health Organization. Health promotion glossary. Geneva: WHO. 1998

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560; 6(1) : 56-67.

ธัญชนก ขุมทอง วิราภรณ์ โพธิศิริ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง.
Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 3(6) : 67-85.

กันตพงษ์ ปราบสงบ, รัตนา สำโรงทอง. รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ในจังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

สุขมาพร พึ่งผาสุก, นภาพร วาณิชย์กุล, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์. ความสัมพันธ์ของความแตกฉานทางสุขภาพ ผลจากการได้รับความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพและอิทธิพล
ทางสังคม กับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ/หรือความดันโลหิตสูง วารสารสภาการพยาบาล. 2560; 32(2) : 111-125.

ชลธิรา เรียงคำ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อัครเดช เกตุฉํ่า, อภิรดี ศรีวิจิตรกมล. ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองอายุและความสามารถในการมองเห็นในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2559; 34(4): 35-46.

ลำไย แสนทรัพย์. การวิเคราะห์การปฏิบัติการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้และครอบครัว : รายงานกรณีศึกษา ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย. (ปริญญานิพนธ์).
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

อรนุช ศรีสารคาม. เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลเท้าในบุคคลที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลกับไม่มีแผลที่เท้า. (ปริญญานิพนธ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-21