การพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะปฐมภูมิ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ชุลีพันธ์ ไชยพันธ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลกมากที่สุด 

วัตถุประสงค์  : เพื่อศึกษาการพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะปฐมภูมิ (Primarypostpar tum hemorrh  age) กรณีผู้คลอด 2 ราย ที่มารับการรักษาที่ห้องคลอดโรงพยาบาล  บางพลีวิธีการศึกษาเป็นกรณีศึกษาผู้คลอด 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะปฐมภูมิ ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลบางพลีโดยศึกษาประวัติผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงการรักษาพยาบาล การวินิจฉัยการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฏีทางการพยาบาลของโอเร็ม

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 ผู้คลอดหญิงไทยอายุ 31 ปี G3P2A0L2   อายุครรภ์ 41 สัปดาห์  6 วัน มีอากา รเจ็บครรภ์ ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด มีภาวะความดันโลหิต  สูงร่วมด้วยทารก  เป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 3,355 กรัม ใชวิธี Acti ve managemen t เลือดออกก่อนรกคลอด 500 มิลลิลิตร หลังคลอดปกติมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี่ เสียเลือด     1,300 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาล 2 วัน

กรณีศึกษาที่ 2 ผู้คลอดหญิงไทยอายุ 20 ปี G2P1A0L1 อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ 2 วัน ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ มีน้ำเดิน ไม่มี มูกเลือดออกทางช่องคลอด ทารกเป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอด 2,250 กรัม ทารกศีรษะลีบไม่มี กระโหลกศีรษะ ใช้วิธี Active management มีเลือดออกก่อนรกคลอด 200 มิลลิลิตร รกคลอดมีเลือดออกทันที 800 มิลลิลิตร รวมเป็น 1,000 มิลลิลิตร นอนพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน 

สรุปผล : การพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดกรณีศึกษาผู้คลอด 2 ราย มีความแตกต่างในข้อมูลส่วนบุคคลการให้การพยาบาลอย่างทันท่วงที สามารถช่วยให้มารดาและทารกได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญและต้องมีแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ  :  ภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะปฐมภูมิ (Primary postpartum hemorrhage), การพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอด

References

World Health Organization, UNICEF, 2014. Trends in maternal mortality: 1990 to 2013: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nation Population Divition : Retrieved from http://apps.who. Int/iris/bitstream/10665/112682/2/9789241507226 _eng.pdf?ua=1.

กรมอนามัยสำนักส่งเสริมสุขภาพ.การตายมารดาไทย (Maternal Mortality). กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.

ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์และคณะ.ภาวะตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง ; 2556.

สันต์ ธีร์ติยะธะ.Surgical management of uterine atony. Retrieved 2019 fromhttp://www.med.cmu.ac.th

World Health Organization. WHO recommenda tions for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data ; 2012

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด.กรุงเทพฯ, : สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-25