ความชุกและปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่ออัตราการกรองไต (GFR) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่ออัตราการกรองไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analysis Study) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 1,056 คน ซึ่งบันทึกในโปรแกรมสำเร็จรูปของโรงพยาบาลท่าคันโท ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561 ระยะเวลา 1 ปี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปรเพื่ออธิบายค่า Adjusted Odd Ratio (ORadj), ค่าความเชื่อมั่น (95%CI) และ p-value
ผลวิจัย : พบความชุกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัตราค่ากรองไต (GFR) ต่ำกว่า 60 มล./นาที/1.73 ม.2 ร้อยละ 26.42 (95% CI=23.76 – 29.08) ซึ่งปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับอัตราค่ากรองไต (GFR) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ดังนี้ เพศหญิง (ORAdj.= 1.46, 95%CI= 1.06 – 2.03, p <0.001), อายุของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี (ORAdj.= 2.78, 95%CI= 1.98 – 3.89, p = 0.022), ระดับการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานที่จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา (ORAdj.= 2.16, 95%CI= 1.19 – 2.59, p = 0.005) ส่วนปัจจัยด้านคลินิกเบาหวาน พบว่า ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป (ORAdj.= 2.16, 95%CI= 1.19 – 2.59, p = 0.007), และผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน (ORAdj.= 1.84, 95%CI= 1.36 – 2.49, p <0.001)
สรุป : การศึกษาครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการดำเนินงานเชิงนโยบาย พัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ต่อไป
คำสำคัญ : คุณลักษณะส่วนบุคคล, เบาหวานชนิดที่ 2, อัตราการกรองของไต
References
International Diabetes Federation. Diabetes Atlas, Seventh Edition. Karakas Print; 2015. p.12-13.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558, หน้า 1-23.
National Kidney Foundation. DIABETES AND CHRONIC KIDNEY DISEASE stage1-4. New York;2013. p.2-16.
Dabla PK. Renal fuction in diabetic nephropathy. World J Diabtetes. 2010; 1(2): 48.56.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคสำคัญ ปี พ.ศ. 2537-2558; 2559. หน้า 1-7.
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559, หน้า 18-19.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. [อินเทอร์เน็ต] กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1
สุกัณ คันทะสอน. รายงานคลินิกโรคเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าคันโท. โรงพยาบาลท่าคันโท; 2561, หน้า 1-5.
เทพ หิมะทองคำ, รัชตะ รัชตะนาวิน และธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด; 2557. หน้า 60-69.
วิมลพร พูลศิริ. อัตราการกรองไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังใช้การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรังด้วยตนเอง โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560; 25(3): 316-26.
Rodriguez-Pocelas A, Mondel-Tuduri X, Miravel-Jiminez S, Casellas A, Barrot-De la Puente JF, Franch-Nadal J, et al. Chronic Kidney Disease and Diabetic Retinopathy in Patients with Type 2 Diabetes. PLoS ONE. 2016; 11(2):e0149448.
Lin HT, Zheng CM, Wu YC, Chang YH, Chen JT, Laing CM, et al. Diabetes Retinopathy as a Risk Factor for Chronic Kidney Disease Progression: A Multicenter Case-control Study in Taiwan. Nutrients. 2019; 1(2): doi:10.3390/nu11030509.
Jia W, Gao X, Pang C, Hou X, Bao Y, Liu W, et al. Prevalence and risk factors of albuminuria and chronic kidney disease in Chinese population with type 2 diabetic and impaired glucose regulation: Shanghai diabetic complication study (SHDCS). Nephrology Dialysis Transplantation. 2009; 24(12): 3724-31.
Nakanga WP, Prynn JE, Banda L, Kalyesubula R, Tomlinson LA, Nyirenda M, et al. Prevalence of impaired renal function among rural and urban populations: findings of a cross-sectional study in Malawi [version 1; peer review: awaiting peer review]. Wellcome Open Res.2019, 4:92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม