การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วัฒนา สว่างศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ อำเภอเมืองมหาสารคาม จำนวน 17 คน ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคทุกระดับ จำนวน 25 คน รวมจำนวน 42 คน โดยแบ่งขั้นตอนวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) เตรียมการวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ดำเนินการโดยใช้แนวคิดของ Kemmis & McTaggart และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม 3) ประเมินผลในระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 - มกราคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วย แบบสอบถามความรู้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างบุคลากรสาธารณสุข และแบบรายงาน รวบรวมข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และฐานข้อมูล HDC การตอบกลับการเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคทางออนไลน์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : การพัฒนารูปแบบมี 10 กิจกรรม และหลังการพัฒนาพบว่าผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้อยู่ในระดับมาก จากเดิม ร้อยละ 82.35 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 88.24 พฤติกรรมการดูแลตนเองจากเดิม ( =2.02, S.D.=0.188) อยู่ในระดับปานกลาง เพิ่มขึ้นเป็น ( =2.45, S.D.=0.146) อยู่ในระดับมาก และผู้รับผิดชอบงานวัณโรคมีความรู้ในระดับมาก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 100 ผลการติดตามเยี่ยมบ้านครั้งแรกภายใน 7 วัน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.76 เป็น ร้อยละ 66.67 ผลการลงข้อมูลกำกับการกินยาใน TBCM online เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 41.1 เป็น ร้อยละ 86.7 ผลการตอบกลับการเยี่ยมผู้ป่วยทางระบบออนไลน์ ร้อยละ 76.9 และอัตราการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 88.24

คำสำคัญ : การดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

References

World Health organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva, Switzerland: WHO ; 2017:23. (WHO/HTM/TB/2017.23)

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมวัณโรคแห่งชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; 2558.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National Tuberculosis Control Program Guideline, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2560.

แผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม, งานยุทธศาสตร์สุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ; 2561.

ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รายบุคคล หรือ โปรแกรมบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค (Tuberculosis Case Management : TBCM 2010 ) หรือโปรแกรม TBCM online

Kemmis, S. and McTaggart, R. The Action Research Reader.Thirdedition.Deakin University Press, Victoria; 1990.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม.(ออนไลน์) 2555. แหล่งที่มาhttps://www.gotoknow. org/posts/115427 (วันที่ 23 มิถุนายน 2561)

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี; 2551.

จริยา พันธุ์ไชยา. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วย วัณโรคปอดที่ได้รับการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

จุฬาวรรณ จิตดอน, วนิดา ดุรงฤทธิชัย, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย วัณโรคที่รักษาด้วยระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2560; เล่มที่ 40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-08