การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สลิดา รันนันท์
  • พาพร เหล่าสีนาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้  

วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) จากกรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของซูคัพ (Soukup 2,000) โดยการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล และนำไปทดลองใช้ระยะการศึกษาประกอบด้วย 1) การประเมินผู้ป่วย ด้านความรู้ พฤติกรรมและภาวะสุขภาพ 2) การให้ความรู้ที่จำเป็นเพียงพอต่อการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โภชนาบำบัด การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาเบาหวาน การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและการแปลผลและวิธีป้องกันแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงในเลือด 3) การวางเป้าหมายร่วมกันกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านความรู้ ทักษะการจัดการตนเอง และ 5) การติดตามระดับน้ำตาลในเลือด  

ผลศึกษา : จากการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่พัฒนาครั้งนี้ ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 10 ราย พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) ลดลง 1.15% การประเมินผลความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ในหน่วยงานพบว่าพยาบาลวิชาชีพ ได้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาล

คำสำคัญ : โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แนวปฏิบัติทางการพยาบาล การจัดการตนเอง

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพ:ร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญปี 2554. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข; 2554.

Grundy SM, Benjamin IJ, Burke GL, Chait A, Eckel RH, Howard BV, Mitch W, Smith SC Jr, Sower JR. Diabetes and cardiovascular disease: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association. Circulation. 1999;100(10):1134-46.

Saudek, CD,. Herman, WH., Sacks, DB., Bergenstal, RM., Edelman, D., Davidson, MB. A new look at screening and diagnosing diabetes mellitus. JClin Endocrinol Metab.2008; 93(7): 2447-53 2008.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน, กรุงเทพ: ร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

ดนวัต ชุณหวาณิชย์ และสันตวดี ชุณหวาณิชย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลระดับไขมันในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 1(3-4ฉบับเสริม2); 2550: 412-418.

สมนึก กุลสถิตพร, ดารวัลย์ ศรีธัญรัตน์, วัลลา ตันตโยทัย, สิริเนตร กฤติยาวงศ์, ยุพา ไพรงามเนตร, วินัย ดะห์หลัน, เทพ หิมะทองคำ. พฤติกรรมการออกกำลังกายของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาชุมชนเมืองบางคอแหลม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2551; 2(3): 409-418

วราภรณ์ หนุ่มศรี. การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมาก และกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในแผนกป่วยนอกโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

Lynne S. Schilling, Margaret Grey, A Knafl. The concept of self-management of type 1 diabetes in children and adolescents: an evolutionary concept analysis. Leading Global Nursing Research, 2002 ; 37 (1) : 87-99.

Creer,T.L. Self-management of chronic illness. In M. Doekaerts, P.R. Pintrich, & M. Zeidner (Eds.). Handbook of self-regulation San Diego: Academic Press ; 2000 : 601-629.

Muloahy, K., Maryniuk, M., Peeples, M., Peyrot, M., Tomky, D., Weaver, T., & Yarborough, P. Diabetes Self-Management Education Core Outcomes Measures:The Diabetes educator, 2003 ; 29 (5) :768-803.

Soukup, S. M. The center for advanced nursing practice evidenced based practice model. Nursing Clinic of North America, 2000; 35 (2): 301-309.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, ธีรพร สถิรอังกูร และศิริมา ลีละวงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้. วารสารกองการพยาบาล. 2560 ; 44(2) :135- 141.

ฉวีวรรณ ทองสาร.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อการจัดการตนเองในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด.สารนิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2550.

Nisak, M. Y. B., Talib, R. A., Norimah, A. K., Gilbertson, H., & Azmi, K. N. Improvement of Dietary Quality with the Aid of a Low Glycemic Index Diet in Asian Patients with Type 2 Diabetes Mellitus Randomized. Journal of the American College of Nutrition.2010; 29(3):161–170.

ขวัญหทัย ไตรพืช. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. สารนิพนธ์หลักสูตรพยาบาลสาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

Daniel Umpierre, Paula A. B. Ribeiro, Caroline K. Kramer, Cristiane B. Leita˜o, Alessandra T. N. Zucatti, Mirela J. Azevedo, Jorge L. Gross, Jorge P. Ribeiro, Beatriz D. Schaan. Physical Activity Advice Only or Structured Exercise Training and Association With HbA1c Levels In Type2 Diabetes. JAMA.2011; 305(17): 1790-1799.

Polonsky, W., Fisher, L., Schikman, C., Hinnen, D., Parkin, C., Jelsovsky, Z., et al. The Value of episodic, intensive blood glucose monitoring in non-insulin treated persons with type 2 diabetes: Design of the Structured Testing Program (STeP) Study, a Cluster-randomised, Clinical trial. BMCFamily Practice,2010; 1137: 1471-2296 from http://www.biomedicentral.com

Al-Shookri, A., Khor, G. L., Chan, Y. M., Loke, S. C., & Al-Maskari, M. Effectiveness of medical nutrition treatment delivered by dietitians on glycemic outcomes and lipid profiles of Arab, Omani patients with Type 2 diabetes. Diabet Med.2012; 29(2): 236-244.

T. Aghamolaei, H. Eftekhar1 , K. Mohammad2 , M. Nakhjavani3 , D. Shojaeizadeh1 , F. Ghofranipour and O. Safa. Effects of a Health Education Program on Behavior HbA1c and Health-Related Quality of Life Diabetic Patients. Acta Medica Iranica,2005; 43(2): 89-94.

กรรณิการ์ ยิ่งยืน และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 31(6) , 2559; 365-371.

พิกุล นันทชัยพันธ์.การประเมินคุณภาพด้านการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางคลินิก: เอกสารประกอบการบรรยายการอบรม เรื่อง การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-08