พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • วิรุท นนสุรัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความสัมพันธ์ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8

วิธีการวิจัย : เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  โดยกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random Sampling) ในตัวอย่างจำนวน   480  คน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Analysis) หาค่าความถี่  ร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และใช้สถิติ Pearson Product Moment Correlation วิเคราะห์หาความสัมพันธ์

ผลการวิจัย : พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 73.5) อายุอยู่ในช่วง 60 – 69 ปี (ร้อยละ 63.3) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 62.1%) ระดับการศึกษา อยู่ในระดับประถมศึกษา (89.8%) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 58.1)  รายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน (66.3%)  มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องมากที่สุด คือ การกินผัก  ผลไม้เป็นประจำทุกวันทำให้ได้รับวิตามินและใยอาหาร (70.0%)  และถูกต้องน้อยที่สุดคือ การกินอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ 43.5%)  มีความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องมากที่สุดคือ  อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด (69.8%) ส่วนความเชื่อที่ถูกต้องน้อยที่สุดคือ การซื้ออาหาร นอกบ้าน มีความเสี่ยง ที่จะได้รับอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ (30.4%)  ด้านปัจจัยเอื้อ  การเข้าถึงแหล่งอาหารได้สะดวกมากที่สุด คือ สามารถหาซื้ออาหารสดได้ง่าย (83.5%) และการเข้าถึงแหล่งอาหารได้สะดวกน้อยที่สุด คือการใช้บริการร้านอาหารนอกบ้าน (27.1 ร้อยละ)  ด้านปัจจัยเสริม พบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ เพื่อนไม่ชวนรับประทานอาหารดิบ อาหารแปลกๆ (X̅=2.82, S.D.=0.48)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครอบครัวไม่ปรุงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด (X̅=1.51, S.D.=0.71)

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

References

บุญเลิศ เลียวประไพ. ประชากรไทย อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต [จุลสาร]. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหวิทยาลัยมหิดล; 2557.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย; 2557. https://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/ NewBuild/ Preparation-for-Aging-Society-in-Thailand.aspx.

นัทธมน หรี่อนทร์ ศศิพร ขวานอก และ ผดุงศิษย์ ชำนาญบริรักษ์. การเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง
จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15 (1):53-60.

วรัญญา มณีรัตน์, จันทกานต์ เหล่าวงษา, กุลชา กุณาฟั่น, สุทธิดา ไพศาล, และขวัญฤทัย ลืมตื่น. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558.

มาริสา หวังเจริญและคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรม ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร. วารสาร คหเศรษฐศาสตร์, 2559 ;59(3) : 61-72.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2560; 7 (2 )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09