พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรสา ภูพุฒ
  • ศิริญา คันธิยงค์
  • เกรียงศักดิ์ งามแสงศิริทรัพย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและหาความสัมพันธ์การสัมผัสปัจจัยอันตรายกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ

วิธีการศึกษา : เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional analytic studies) ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างทุกราย จำนวน 285 ราย  ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนสิงหาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Item objective congruence index) ตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.95   ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และMultiple logistic regression

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็น เพศหญิง ร้อยละ 95.78  เพศชายร้อยละ 04.21 อายุเฉลี่ย 33.62 ปี (SD=6.03)  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 95.08 มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.22 ปี (SD=5.30) มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ68.42  สำหรับพฤติกรรมการทำงานไม่ปลอดภัย ได้แก่ สวมปลอกเข็มคืน ร้อยละ 46.66 ไม่สวมแว่นตาป้องกัน ร้อยละ27.71 และไม่เคยไม่สวมถุงมือเมื่อเจาะเลือดผู้ป่วย ร้อยละ 22.10  ปัจจัยอันตรายที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทำงานด้านความปลอดภัย ได้แก่ การสัมผัสแอลกอฮอล์ ยกของหนัก และสถานที่ทำงานจัดวางอุปกรณ์ไม่เป็นระเบียบ (p value < 0.05)

คำสำคัญ : ความปลอดภัยในการทำงาน,ปัจจัยอันตราย,พยาบาลวิชาชีพ

References

American Nurses Association [ANA]. Nursing’s social policy statement. Silver Spring, MD: American Nurses Association; 2010.

Department of Health and Human Services. How to prevent latex allergies. NIOSH Fast Facts;2012. Retrieved August 7, 2019, from http://www.cdc.gov/niosh/docs

Rogers, B. Occupational and environmental health nursing: Concepts and practice (2nd ed).USA: Philadelphia;2003.

The Canadian Centre for Occupational Health and Safety [CCOHS]. Nurse (Registered);2013. Retrieved August 7, 2019, from http://www.ccohs. ca/oshanswers/0ccup_workplace/nurse.html.

Perhats, C., keough, V., Fogarty, J., Hughes, N.L., Kappelman, C.J., Scott, M., & Moret, J. Non-violence-related workplace injuries among emergency nurses in The United States:implications for improving safe practice, safe care. Journal of Emergency Nursing, 2011; 38(6): 541-548.

อภันตรี ประยูรวงษ์. ปัญหาสุขภาพจากการทางานของบุคคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจังหวัดปราณจีนบุรี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2556; 27(2) :54-62.

วิลาสินี โอภาสถิรกุล.ภาวะสุขภาพตามความเสียงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

รายงานประจำปี.โรงพยาบาลศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

Becker, G. S. A theory of social interactions. Journal of political economy, 1974 ; 82(6) : 1063-1093.

สุนทร บุญบาเรอ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางานของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 2557 ; 20 (2): 82-92.

วชิระ สุริยะวงค์ . วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรและพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 2560; 5 (1) : 103 -118.

Idaho State University. Safety and loss control manual ; 2009.Retrieved August 7, 2019, From http://www.isu.edu/pubsafe/safetymanual/Safety Manual.pdf

Miller, D. E. Safety is no accident; 2010. Retrieved August 7, 2019, from http://www.pacificemployers.com/Safety/Accident%20Investigation_02.html

Manzoor, L., Daud, S., Hashmi, N.R., Sardar, H., Babar, M.S., Rahman, A., & Malik, M. Needle stick injuries in nurses at a tertiary health care facility. Journal of Ayub Medical College Abbottabad , 2010; 22 (3): 174-178.

New Jersey Department of Health and Senior Service. Hazardous substance fact sheet ;2011. Retrieved August 7, 2019, from http://nj.gov/health/ eoh/rtkweb/documents/fs/1076.pdf

Xelegati, R.X., Robazzi, M.C., Marziale, M.H.P., Hass, V.J. Chemical occupational risks identified by nurses in a hospital environment. Revista Latino-Americano de Enfermagem, 2006 ;14 (2) : 214-219.

Tinubu, B. M., Mbada, C. E., Oyeyemi, A. L., & Fabunmi, A. A. Work-related usculoskeletal disorders among nurses in Ibadan, South-west Nigeria: Across-sectional survey. BioMed Central Musculoskeletal Disorders, 2010; 11(12): 1-8.

Occupational Safety and Health Administration [OSHA]. OSHA forms for recording workrelated injuries and illnesses , 2006 ; Retrieved August 7, 2019, from http://www.osha.gov/recordkeeping/new-osha 300 form1-1-04 .pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09