ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อัญชุลี ประคำทอง
  • นิตยา ฤทธิ์ศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง  

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม และผู้ป่วยนอกใน คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงโดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง (F 10.2) ดำเนินการในระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์- สิงหาคม 2561 จำนวน 132 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยส่วนที่ 1 เป็นแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป   ส่วนที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ความต้องการและการดูแลด้านจิตวิญญาณ โดยใช้กรอบแนวคิด  ของไฮฟิลด์ (Highfield,1992) ตรวจสอบค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และตรวจสอบโดย  content analysis  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลวิจัย : 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการมีความหมายและเป้าหมายในชีวิต ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x} = 2.71) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.47) 2) ความต้องการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อม สิ่งนอกเหนือตน กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 2.81)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.61)  3) ความต้องการความหวังซึ่งเป็นความปรารถนาเพื่อให้ตนเองได้พบกับสิ่งที่ดีและมีชีวิตที่ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 2.07) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD= 0.57) และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวโดยเฉพาะจากสามี - ภรรยา ความคาดหวังกับการติดสุรา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คาดหวังว่า อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 55 มีเป้าหมายว่าจะเลิกดื่มอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 28 บอกว่าจะพยายามลดการดื่มลงและหยุดดื่มภายใน 1 ปี  ร้อยละ10 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7 บอกว่าคงจะเลิกไม่ได้ 

สรุป : ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังเป็นบุคคลที่มีความต้องการด้านจิตวิญญาณ อันประกอบด้วยหลักของชีวิตและความเป็นชีวิต ดังนั้นพยาบาลและผู้ดูแลควรตระหนักถึงความต้องการ และตอบสนองความต้องการนั้น หากได้รับการตอบสนองตามสภาพความจริงแล้ว ผู้ป่วยย่อมรับรู้ถึงคุณค่า ของตนเอง เกิดความพึงพอใจ นำมาซึ่งความผาสุกด้านจิตวิญญาณต่อไป    

คำสำคัญ : ความต้องการด้านจิตวิญญาณ ,  โรคพิษสุราเรื้อรัง

References

สาวิตรี อัษณางค์กรชัยและสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล.ปัญหาและความผิดปกติจากการดื่มสุรา:ความสำคัญในการดูแลรักษาในประเทศไทย.สงขลา,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2557.

Ditsayabut, S. Psychiatric and Mental Health Nursing. Si Sa Ket: Faculty of Nursing, Chalermkarnchana University. (InThai);2007.

Lotrakul, M. (2014).SuicideinThailand between1998 and 2002. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 48(1), 251-259.3.

Bursell, J., & Mayers, C. A. Spirituality within dementia care: Perceptions of health professionals.British Journal of Occupational Therapy, 2010;73(4):144–151.

Highfield, M.F. Spiritual health of oncology : Nurse and patient perspective. , Cancer Nursing,1992; 15(1): 1-8.

กนกอร กองจันทร์ และชวนพิศ ทำนอง.ความผาสุกทางด้านจิตวิญญาณ และความต้องการด้าน จิตวิญญาณในผู้ป่วยภาวะวิกฤต. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 2553;13(3), 57-72.

อนงค์ ภิบาล. ความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณและการได้รับการพยาบาลที่ตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยไทยมุสลิมระยะสุดท้ายขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล;2552. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดำรงค์ แวอาลี และมูฮหมัดดาโอะ เจ๊ะเลาะ.จิตวิญญาณในผู้ป่วยมุสลิม. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562จากhttp://www.piwdee.net/sanha1.htm.

Johnstone, B., Yoon, D.P., Cohen, D., Schopp, L.H., McCormack, G., Campbell, J. & Smith, M.Relationships among spirituality, religious practices, personality factors, and health for five different faith traditions. Journal of Religion and Health, 2012;51(4): 1017–1041.

กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม. สรุปผลการดำเนินงานยาเสพติด.มหาสารคาม : เอกสารอัดสำเนา, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09