อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตกในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ วงศ์ณรัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก ของผู้ป่วยที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รวมถึงสาเหตุของการบาดเจ็บ และผลการรักษา เพื่อหาวิธีป้องกันและลดอุบัติการณ์ การบาดเจ็บที่ตา        

รูปแบบวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังทำการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2560

ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก จำนวน 78 คน เป็นเพศชาย 62 คน เพศหญิง 16 คน พบอายุต่ำสุด 1 ปี และอายุสูงสุด  83 ปี โดยช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 41-50 ปี จำนวน 19 คน (ร้อยละ 24.36)  อาชีพที่พบมากที่สุดคือ เกษตรกร จำนวน 29 คน (ร้อยละ 37.18) โดยสาเหตุของการ บาดเจ็บ ที่พบมากที่สุด คือ อุบัติเหตุจากการทำงานจำนวน 34 คน (ร้อยละ 43.59) และชนิดของวัตถุที่เป็น สาเหตุของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุดคือ ท่อนไม้หรือกิ่งไม้ จำนวน 25 คน (ร้อยละ 32.05) ชนิดการแตกของลูกตาที่พบมากที่สุดคือ แผลฉีกขาดแบบทะลุเข้าในลูกตา พบจำนวน 37 คน (ร้อยละ 47.44) และวิธีการรักษาที่ใช้มากที่สุดคือ การเย็บซ่อมกระจกตา จำนวน 54 คน (ร้อยละ 69.23)  โดยระดับค่าสายตาแรกรับ น้อยกว่า 6/60 ถึงระดับมองเห็นแสง พบจำนวน 44 คน (ร้อยละ 56.41) ภายหลังการรักษาที่ระยะเวลา 3 เดือน ระดับค่าสายตาน้อยกว่า 6/60 ถึงระดับมองเห็นแสง พบจำนวน 19 คน (ร้อยละ 24.36)

สรุป : การบาดเจ็บที่ตาส่วนใหญ่เกิดในเพศชาย อาชีพที่พบบ่อยที่สุดคือ เกษตรกร และส่วนมาก มักเกิดขึ้นขณะทำงาน การศึกษาถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำมาใช้ในการวางแผนป้องกัน การบาดเจ็บที่ตา รวมถึงการวางแผนการรักษาและฟื้นฟู ซึ่งสามารถลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้

คำสำคัญ : การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก, แผลฉีกขาดแบบทะลุเข้าในลูกตา, การเย็บซ่อมกระจกตา

References

Rahman I, Maino A, Devadason D, Leatherbarrow B. Open globe injuries: factor predictive of poor outcome. Eye. 2006; 20:1336-1341

Pierre Filho PTP, Gomes PRP, Pierre ETL. Profile of ocular emergencies in a tertiary hospital from Northeast of Brazil. Rev Bras Oftalmol. 2010; 69:12-17.

Lindsey J, Bowes Hamill M. Scleral and corneoscleral injuries from ocular trauma: principles and practice. Thieme. 2011:123-130

Negrel AD, Thylefors B. The global impact of eye injuries. Ophthalmic Epidemiol. 1998; 5:143-169

Kuhn F, Morris R, Witherspoon CD, et al. Standardized classification of ocular trauma terminology. Opthalmology. 1996; 103:240-3

Kuhn F, Morris R, Witherspoon CD, et al. The Birmingham eye trauma terminology system (BETT). J Fr Ophtalmol. 2004; 27:206-210.

ณัฐชัย วงษ์ไชยคุณากร, อนุชิต กิจธารทอง. การประเมินภาวะอุบัติเหตุทางตาโดยใช้ ocular trauma score ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2548;23(2):99-109

สุจริต งามวงษ์ไพบูลย์, อรวรรณ ค่าสมุทร. อุบัติเหตุต่อตาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุ เคราะห์ ศึกษาย้อนหลัง 3 ปี. จักษุเวชสาร 2534; 5: 145-52

อัจฉรา ฉาวิริยะ. อุบัติการณ์ของภาวะลูกตาแตกในโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเขต 12. 2554; 22(2): 34-38

โกศล คำพิทักษ์. อุบัติเหตุทางตา. วารสารจักษุสาธารณสุข 2543; 14(1): 19-24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-18