ผลของสารสกัดจากใบปัญจขันธ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ชนิดา หอมหวล
  • ไกรสร อัมมวรรธน์

บทคัดย่อ

บทนำ : ปัญจขันธ์เป็นพืชสมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการลดกระบวนการสร้างกลูโคสและสลายไกลโคเจนที่ตับ เพิ่มเบต้าออกซิเดชันและการนำกลูโคสเข้าเซลล์กล้ามเนื้อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบปัญจขันธ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน รวม 60 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับปัญขันธ์สกัดชนิดแคปซูล (500 มิลลิกรัม/วัน) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ร่วมกับคำแนะนำการปฏิบัติตัวเรื่องอาหารและออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างเดียว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพ รวมทั้งแบบบันทึกการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังได้รับปัญจขันธ์สกัดทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา : หลังการวิจัย 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FBS) ลดลงจาก 111.07 เป็น 105.20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (P=0.002) แต่กลุ่มควบคุมมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 112.43 เป็น 118.03 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (P=0.005) ส่วนการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) หลังการวิจัย 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ลดลงเพียง 0.01% จาก 5.88% เป็น 5.87% ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.988) แต่กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) เพิ่มขึ้นจาก 5.92% เป็น 5.94% (P=0.632)

สรุป : สารสกัดจากใบปัญจขันธ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FBS) ในอาสาสมัครผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c)

คำสำคัญ : สารสกัดจากใบปัญจขันธ์, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

References

American Diabetes Association. Diagnising Diabetes and learning About Prediabetes. 2016; 21(1), 1-6. Retrieved from http://www.diabetes.org/pem-prediabetes-es.

คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี : ร่มเย็นมีเดีย ; 2560.

วีระพล ภิมาลย์, กิตติศักดิ์ วิชัยโย, คุณตะวัน ศิลป์เสรีกุล, บันลือ สังข์ทอง. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานประสิทธิภาพในการลดระดับ น้ำตาลไขมันในเลือด ความดันโลหิต และขนาดร่างกายของปัญจขันธ์. เภสัชศาสตร์อีสาน 11 (ฉบับพิเศษ กุมภาพันธ์ 2559). 2559;11:230-242.

Machin D., Campbell M., Fayers P., and Pinol A. Sample Size Tables for Clinical Studies, 2ndEdition.Blackwell Science. Malden, MA.Zar, Jerrold H. 1984. Biostatistical Analysis. Second Edition. New Jersey: Prentice-Hall. Englewood Cliffs; 1997.

Huyen VTT, Phan DV, Thang P, Hoa NK, Östenson CG. Gynostemmapentaphyllum tea improves insulin sensitivity in type 2 diabetic patients. Journal of Nutrition and Metabolism. 2013 ; 2013:1-7.

Nguyen PH, Gauhar R, Hwang SL, Dao TT, Park DC, Kim JE, et al. New dammarane-type glucosides as potential activators of AMP-activated protein kinase (AMPK) from Gynostemma pentaphyllum. Bioorganic and Medicinal Chemistry, 2011; 19(21):6254-60.

Zhang XS, Bi XL, Wan X, Cao JQ, Xia XC, Diao YP, et al. Protein tyrosine Phosphatase 1B inhibitory effect by dammarane-type triterpenes from hydrolyzate of total Gynostemma pentaphyllumsaponins.Bioorganic and Medicinal Chemistry Letters. 2013; 23(1): 297-300.

Huyen VTT, Phan DV, Thang P, Hoa NK, Östenson CG. Antidiabetic effect of Gynostemmapentaphyllum tea in randomly assigned type 2 diabetic patients. Hormone and Metabolic Research. 2010;42(5):353-7.

Huyen VTT, Phan DV, Thang P, Ky PT, Hoa NK, Ostenson CG. Antidiabetic effects ofadd on Gynostemma pentaphyllum extract therapy with sulfonylureas in type 2 diabeticpatients.Evidencebased Complementary and Alternative Medicine. 2012; 2012:1-7.

Norberg A, Nguyen KH, Liepinsh E, Van Phan D, Nguyen DT, Jörnvall H, et al. A novel insulin-releasing substance, phanoside, from the plant Gynostemma pentaphyllum. Journal of Biological Chemistry.2004; 279(40):41361-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-17