ผลของโปรแกรมการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจร่วมกับนวัตกรรม “Mask in the world ” ที่มีต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและผลการตรวจคัดกรองในสตรี อายุ 30 – 60 ปี จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ โคตรสีเขียว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของหญิงอายุ 30 - 60 ปี ตำบลห้วยแอ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม        

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงอายุ 30 - 60 ปี จำนวน 181 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 90 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 90 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจร่วมกับนวัตกรรม “Mask  in  the world ” แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยสัมประสิทธิ์ครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติค่าที (t-test)

ผลการวิจัย :  พบว่า หลังการพัฒนากลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกโดยรวม มากกว่า ก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยมีคะแนน เพิ่มขึ้น เท่ากับ  1.31 คะแนน (95% CI; 1.15, 1.46) กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก โดยรวม มากกว่า  กลุ่มควบคุมอย่างมีนัสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) โดยมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้น เท่ากับ 1.34 คะแนน (95%CI: 1.19, 1.49) และผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มจาก  ร้อยละ 52.75 เป็นร้อยละ 80.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63  

สรุป : การสอนโดยใช้โปรแกรมแบบสร้างแรงจูงใจร่วมกับนวัตกรรม “Mask  in  the world” ช่วยเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมการสอนไปใช้ในการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

คำสำคัญ : โปรแกรมการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจ, มะเร็งปากมดลูก, หน้ากาก

References

World Health Organization. Report of a WHO Consultation on Cervical Cancer Screening in Developing Countries ;2012. Geneva: World Health Organization.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถานการณ์โรคมะเร็งในไทย;2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561 จาก http://www.nci.go. th/cance_record/cancer_rec1.html.

ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์. แนวทางปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ:โฆสิตการพิมพ์ ; 2556.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 75 จังหวัด ปี 2550. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ; 2550.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก. บทความสำหรับประชาชน ; 2556.สืบค้นเมื่อ 18 ธ.ค. 61 จาก http://www.rtcog.or.th/html/articles_details.

ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ. สตรีไทยห่างไกลโรคมะเร็ง ;2550. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561 จาก http://www. healthconers.com.

มงคล เบญจาภิบาล. Essential Cancer Screening After 40: Cervical Cancer and Ovarian Cancer. วารสารคลินิกคอลัมน์เวชปฏิบัติปริทัศน์; 2553 สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2561
จาก http://www. doctor.or.th/clinic/detail/7401.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถานการณ์โรคมะเร็งในไทย ; 2557. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561 จาก http://www.nci.go.th/th/ canc_record/cancer_rec1.html.

ข้อมูลจาก HDC โรงพยาบาลส่งเสริมสุชภาพตำบลห้วยแอ่ง, 2562.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน ที่คัดสรรจังหวัดนนทบุรีในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไขแสง อ.เมือง จ.นนทบุรี
ศึกษากลุ่มสตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปีที่ไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 2560 ; 9 (1): 12-20.

จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อระดับความรู้ และทัศนคติในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ. วารสารสภาการพยาบาล, 2556 ; 28(2): 75 - 87.

กานดา ศรีตระกูล. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อระดับทัศนคติในสตรีที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.
เชียงรายเวชสาร. 9 (1): 2560; 123-132.

ปรียานุช มณีโชติ. ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคและอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยในชนบท. สงขลา ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

Becker, M. H. (1990). Theoretical models of adherence and strategies for improving adherence. In The Handbook of Health Behavior Change. New York: Springer Publishing Company.1190 . (1974). The Health Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey: Charles B. Slace.

สุคนธ์ ไข่แก้ว. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยทำงาน.วารสารพยาบาลทหารบก, 2556; 14 (3): 8-13.

อุไรวรรณ์ สัมมุตถี. ความตั้งใจไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.,2558; 3(4): 529-546.

บุญธิญา สุทธิโคตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูก.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสุขภาพชุมชน). ขอนแก่น, คณะแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2551.

รัฐพล สาแก้ว. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปีในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองเหล็ก อําเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 2559 ;22(1): 17-30.

เพียงพิศ เวชอรรถสิทธิ์. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยใช้ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05