การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 หักกดทับไขสันหลัง ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ศรีรัตนกมล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภยันตรายต่อกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว พบภยันตรายต่อระบบประสาทร่วมด้วย ประมาณ ร้อยละ 15 - 20 และถ้าประสาทไขสันหลังได้รับภยันตราย จะทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตได้มากน้อยตามความรุนแรงของพยาธิสภาพ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและมีโรคร่วม ทำให้นอนโรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ : ศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสันหลังทับส่วนอกที่ 12 หักกดทับไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณากรณีศึกษาในผู้ป่วยกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 หักและกดทับไขสันหลัง ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาการพยาบาล ตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะดูแลต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยสูงอายุ  มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือด อาการสำคัญ ตกจากรถจักรยานยนต์ วินิจฉัยเป็น Unstable Brust fracture T12 ได้รับการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับไขสันหลัง เชื่อมและตรึงกระดูกสันหลังโดยใช้โลหะ ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ได้แก่ เสี่ยงต่อภาวะช็อกจากไขสันหลังบาดเจ็บ เสี่ยงต่อการเกิดไขสันหลังถูกทำลายมากขึ้นจากกระดูกสันหลังหัก ปวดหลัง แบบแผนการปฏิบัติกิจกรรมเปลี่ยนแปลง วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเจ็บป่วยและการผ่าตัด ประสิทธิภาพการหายใจลดลง ปวดแผลผ่าตัด เสี่ยงต่ออันตรายเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง มีภาวะโลหิตจาง ไม่สุขสบายจากไข้ ท้องผูก เสี่ยงการติดเชื้อแผลผ่าตัดและทางเดินปัสสาวะ เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและพลัดตกหกล้ม  พร่องความรู้และการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

ผลลัพธ์ : ผู้ป่วยรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตัว ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ต้องการการดูแลต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายต่อไป

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 หักกดทับไขสันหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง

References

ไสว นรสาร และ พีรญา ไสไหม, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ Trauma Nursing. พิมพ์ ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด ; 2559.

ทวีโชค วิษณุโยธิน, บรรณาธิการ. กระดูกหักและข้อเคลื่อนหลุด. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังวิทยา ; 2556.

วินัย พากเพียร และ สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคออร์โธปิดิกส์ : ระบบสันหลัง - โรคและการบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จามจุรีโปร์ดักท์ ; 2555.

ผ่องศรี ศรีมรกต, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัทไอกรุ๊ป เพรส จำกัด ; 2553.

วรรณี สัตยวิวัฒน์, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส ; 2553.

โรงพยาบาลศรีสะเกษ. รายงานสถิติผู้ป่วย ประจำปี 2559 - 2561. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ. 2562.

ธีรชัย อภิวรรธกกุล, บรรณาธิการ. Orthopaedic Trauma. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์ ; 2553.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง (สำหรับพยาบาล) Clinical Nursing Practice Guidelines for Surgical Spine ISBN : 978-974-422-485-9. นนทบุรี ; 2551.

จันทร์จิรา เจียรนัย. คู่มือการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ; 2555.

พรสิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 18. สมุทรปราการ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร ; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-20