การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและมีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การอักเสบของถุงน้ำดี การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดจึงมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี และมีโรคร่วม
วิธีดำเนินงาน : เป็นการศึกษาเชิงพรรณากรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบางพลี โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงร่วมด้วยที่ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องกับผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่มีโรคไทรอยด์ร่วมด้วยที่ผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาโดยการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดรวมถึงการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 64 ปี ประวัติมีโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานร่วมด้วย มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดจุกท้อง 5 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย Gallstones with Acute cholecystitis ได้รับการผ่าตัด Open Cholecystectomy หลังผ่าตัดมีภาวะแทรกซ้อนพบของเหลวในช่องท้องร่วมกับมีไข้ จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้
กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทยอายุ 45 ปีประวัติมีโรคไทรอยด์ร่วมด้วย มาด้วยนัดนอนโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี จากประวัติการตรวจสุขภาพประจำปีพบนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์วินิจฉัย Gallstones ได้รับการผ่าตัด Laparoscopic Cholecystectomy หลังผ่าตัดไม่พบภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้านได้
สรุป : กรณีศึกษานี้ทำให้เห็นกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั้งจำหน่ายผู้ป่วย การวางแผนการรักษาของแพทย์ การวางแผนการผ่าตัดที่แตกต่างกันความเหมาะสมของการเลือกวิธีผ่าตัดให้กับผู้ป่วยทั้งการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีทั้งผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้องและเปรียบเทียบความแตกต่างของการผ่าตัดทั้ง 2 แบบรวมถึงการพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัย
คำสำคัญ : นิ่วในถุงน้ำดี, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิด, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง
References
eresearcher/upload_doc/2018/academic/1521779279817390007824.doc
ดรินทร์ โล่ห์สิริวัฒน์.นิ่วในถุงน้ำดี(อินเตอร์เน็ต). กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562) เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th
Chadchavalpanichaya N. Emphysematous Cholecystitis : A Pitfall in Ultrasonographic Examination. Region 4-5 Medical Journal [Internet]. 27Jun.2018 [cited
10Nov.2019];26(4):357-62. Available from: https://www.tci- thaijo.org/index.php/reg45/article/view/131051
Tepjinda C. Management of Acute Cholecystitis In Dumncensaduak Hospital. Region 4-5 Medical Journal [Internet]. 18Jul.2018 [cited 10Nov.2019];24(3):223-34. Available from:https://www.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/135337
Punkeaw T. Predicting Factors of the difficult laparoscopic cholecystectomy in Phatthalung Hospital. Region 11 Medical Journal [Internet]. 22Mar.2019 [cited 10Nov.2019];30(4):251- 60. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/179376
Wuttijariyakul P. Surgical Complication from Cholecystectomy at Banpong Hospital. Region 4-5 Medical Journal [Internet]. 18Jul.2018 [cited 10Nov.2019];24(3):213-21. Available from:https://www.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/135335
สรรชัย กาญจนลาภ.การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยชายและหญิงที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยวิธีส่องกล้อง:เพศชายมีผลต่ออัตราความล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อนหรือไม่.เวชสารแพทย์
ทหารบก[Internet]. 2555 [สืบค้นเมื่อ10 พ.ย. 2562];65(1):3-10.เข้าถึงได้จากhttps://www.tci- thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/5365/4710
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม