การพัฒนาแบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก

ผู้แต่ง

  • วิสุดา ทบบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนและหลังการใช้แบบประเมินและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research: AR) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมีจำนวน 1,058 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้ป่วยผ่าตัดหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ก่อนได้รับการพัฒนาแบบประเมิน จำนวน 529 ราย และเป็นผู้ป่วยผ่าตัดหลังได้รับยา หลังได้รับการพัฒนาแบบประเมิน จำนวน 529 ราย ในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก  และแบบความพึงพอใจต่อแบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้เจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผลการวิจัย : การพัฒนาแบบประเมินผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ผลการประเมินข้อมูลส่วนบุคคลที่มี Risk factor  2) ผลการประเมิน Risk factor  3) ผลการประเมินภาวะ PONV ขณะ Pt อยู่ในห้องผ่าตัด  4) การประเมินภาวะ PONV ขณะ Pt อยู่ในห้องพักฟื้น และ 5) การประเมินภาวะ PONV ขณะ Pt อยู่ที่ตึกผู้ป่วย แบบประเมินมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ทดสอบค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 ผลการเปรียบเทียบเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนการพัฒนาแบบประเมิน พบว่ามีผู้ป่วยหลังการผ่าตัดมีคลื่นไส้อาเจียน 56  คน  คิดเป็น ร้อยละ 10.58  และหลังการพัฒนาใช้แบบประเมิน พบผู้ป่วยหลังการผ่าตัดมีคลื่นไส้อาเจียน จำนวน32 คน คิดเป็น ร้อยละ  6.04  ซึ่งลดลง จำนวน 24 คน และผลการประเมินความความพึงพอใจผู้ป่วยผ่าตัดที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลื่นไส้เจียนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ของวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม อยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{X}= 4.37 , S.D. = 1.28) 

คำสำคัญ :  การพัฒนาแบบประเมิน ภาวะคลื่นไส้อาเจียน, อาการหลังรับยาระงับความรู้สึก

References

กองการพยาบาลสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2542.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. มาตรฐานทางวิสัญญี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2543.

อรอนงค์ สีหนาถ. การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กรณีศึกษา โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,2557; 6 (12) : 155-162.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น ;2545.

รุ่งใจ รณธีร์ และนภาพร ชูนาม. การพัฒนาแบบบันทึกทางวิสัญญี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยวิสัญญี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2556. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2560 จาก Website : http://www.hospital.tu.ac.Th/PlanTUHosWeb/data/Project%20Research/research_2556/5630031. pdf

ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทยและสำนักการพยาบาลกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2549.

นภาพร ชูนาม, สิริรัตน์ แสงจันทร์ และปิณฑกานต์ อุไรวัฒนา. (การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยวิสัญญี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2555 สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560 จากWebsite:http://www.hospital.tu.ac.Th/PlanTUHosWeb/ data/Project %20Research/research_2555/5530004.pdf.

แสงจันทร์ วรรณศรี. การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,2555; 27 (1): 24 - 32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-21