ประสิทธิผลของกระบวนการกลุ่มต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวานงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสลภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศรัณญา แก้วคำลา

คำสำคัญ:

กระบวนการกลุ่ม, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานก่อนใช้กระบวนการกลุ่มและหลังใช้กระบวนการกลุ่ม

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง( Quasai experiment) โดยกลุ่มตัวอย่าง   ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกเบาหวาน งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเสลภูมิ ระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2561จำนวน  32  คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆเครื่องมือวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 1.ข้อมูลทั่วไป 2.  แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 2 ครั้งคือก่อนและหลังดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Dependent  t test

ผลการวิจัย: พบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดก่อนเข้ากลุ่มเท่ากับ    216 mg/dl  และหลังเข้ากลุ่มเท่ากับ    162 mg/dl  เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลหลังเข้ากลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ< .001 การใช้กระบวนการกลุ่มมีผลต่อการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนการกลุ่มในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงขึ้น และเป็นการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน

References

เอกสารอ้างอิง

ชลการ ทรงศรี .การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี: ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การ พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี;2550.

ชูชีพ โพชะจา.ผลการใช้กระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่

โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน: ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ;2550.

ถาวร ศรไชย. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ความรู้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่มีความเสี่ยง

ต่อเบาหวานขึ้นจอประสาทตา: วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2557.

วารุณี ศรีตะวัน.ผลการให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยน

สำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน: ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

วิยะการ แสงหัวช้างและคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้

กระบวนการกลุ่มต่อ ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ;2555.

สุพิมพ์ อุ่นพรม.โปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ

ประชาชน กลุ่มเสี่ยงเบาหวานในผู้ใหญ่: วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชปฏิบัติ ชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทาลัยนเรศวร;2549

American Diabetes Association. Evidence-Based Nutrition Principles and Recommend for the

Treatment and Related Compilcation ,DiaetesCare,DiabetesCare,Vol 6 Suppl ;Jan 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25