การพยาบาลผู้ป่วย Metformin associated lactic acidosis ที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กชณากาญ ดวงมาตย์พล

คำสำคัญ:

การฟอกเลือด, Metformin, Lactic acidosis

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : แม้ว่ายา Metformin จะเป็นยาที่เหมาะสมที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดี แต่ก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่า metformin associated lactic acidosis (MALA) อุบัติการณ์ของภาวะนี้ค่อนข้างต่ำแต่หากเกิดขึ้นแล้วอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะนำของไตวายเฉียบพลันร่วมกับภาวะ Shock และภาวะการหายใจล้มเหลว แต่พบว่าการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมักได้ผลลัพธ์ที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วย metformin associated lactic acidosis (MALA) ที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กรณีศึกษา 2 ราย

วิธีการศึกษา : ศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วย metformin associated lactic acidosis (MALA) ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามโดยศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียนของทางโรงพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 31 ปี ผู้ป่วย DM Type 2 with Hypertension รับยาที่โรงพยาบาลโกสุมพิสัย ตลอด 5 ปี ไม่ขาดยา On MFM(500 mg) 2x2 po pc. GPZ 2x2 po pc. ผู้ป่วยมีถ่ายเหลว 5-6 ครั้ง/วัน มีคลื่นไส้อาเจียน บ่อยครั้ง เป็นมา 3 วัน พบมีภาวะ metformin associated lactic acidosis (MALA) รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 6 ครั้ง ขณะฟอกเลือดผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน แต่สามารถให้การรักษาพยาบาล และสามารถแก้ไขภาวะแทรกซ้อนได้ ไม่เกิดอันตรายแก่ชีวิต รวมระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน  กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 44 ปี ผู้ป่วย DM Type2 นาน 3 ปี  รับยาที่โรงยาบาลแกดำ สม่ำเสมอตามนัด ไม่ขาดยา On MFM (500 mg) 2x2 po pc. ให้ประวัติ 1 วันก่อนมา มีถ่ายเหลว 12 ครั้ง มีอาเจียน 10 ครั้ง มีภาวะ Shock with metformin associated lactic acidosis (MALA) รักษาด้วยยาและฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้ง ผู้ป่วยฟอกเลือดครบตามเวลา ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 วัน

สรุป : การประเมินผู้ป่วย metformin associated lactic acidosis (MALA) ที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่รวดเร็ว และให้การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือดช่วยลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญการเป็นพิเศษ และต้องมีแนวทางการพยาบาลที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

References

เอกสารอ้างอิง

Viollet B, Guigas B, Sanz Garcia N, Leclerc J, Foretz M, Andreelli F. Cellular and molecular

mechanisms of metformin: an overview. Clin Sci (Lond) 2012 Mar;122(6):253-70. 2.

UK Prospective Diabetes Study(UKPDS) Group. Effect of intensive blood glucose control with

metformin on complications in overweight patients with type 2 diabetes(UKPDS34). Lancet 1998 Sep 12; 352: 854-65.

พิสนธ์ จงตระกูล. การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อการจัดการโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วัฒนาการพิมพ์, 2557

สำนักงานนโยบาลและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติสาธารณสุข

ปี 2561. สืบค้นจาก. https://bps.moph.go.th/new_bps/ สถิติสาธารณสุข.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. (2562). รายงาน Servised profile 2562. หน่วยไตเทียม โรงพยาบาล

มหาสารคาม

Ekstrom N, et al. Effectiveness and safety of metformin in patients with type 2 diabetes and

different levels of renal function: a cohort study from the Swedish National Diabetes Register. British Med Journals Open 2012; 2 : e 001076.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25