การพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูรุนแรงที่เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคฉี่หนูรุนแรง, การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจบทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคฉี่หนูรุนแรงเป็นการเจ็บป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตอย่างยิ่งผู้ป่วยจะมีอาการดีซ่าน มีเลือดออกตามอวัยวะภายในและตา ตับโต ม้ามโต ไตวาย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลวนอกจากนี้ยังมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำจากความรุนแรงของโรคผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานคือการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(VAP) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น นอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูรุนแรงที่เกิด VAP
วิธีการศึกษา : เป็นกรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการศึกษาผู้ป่วยโรคฉี่หนูรุนแรงที่เกิด VAPที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาสารคามจากเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2561จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะวิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่อง และระยะการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคฉี่หนูรุนแรง 2 รายที่เกิด VAP
รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 70 ปี อาการสำคัญไข้ 4 วัน หนาวสั่น ถ่ายดำเป็นยางมะตอยซีดวิงเวียนศีรษะ ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนาน 44 วันวินิจฉัยโรคWeil syndrome, Acute respiratory failure, Adrenal insufficiency,Septic shock, Acute thrombocytopenia, UGIB, DIC, VAP, DM type 2, Hypertension
รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 26 ปี อาการสำคัญ ไข้ ปวดจุกแน่นท้องมา 3 วัน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ผู้ป่วยต้องใช้เครื ่องช่วยหายใจนาน 14 วันวินิจฉัยโรคSevere Leptospirosis, Acute respiratory failure,Septic shock, Acute renal failure, thrombocytopenia, Hepatic Jaundice, Alveolarhemorrhage, VAP
สรุป : การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยโรคฉี่หนูรุนแรง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานเพื่อคงไว้ซึ่งการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างเพียงพอจนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤตกลับสู่ปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุดฉะนั้นทีม ผู้ดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญในการนำแนวปฏิบัติเรื่องการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนวันนอน และสามารถกลับไปดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
References
ธฤติ สารทศิลป์. ผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2552 ;19 (1)
อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาล. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่ : มิ่งเมืองนวรัตน์; 2560 : 205-2016
Koulenti D, Blot S, Dulhunty JM, Papazian L, Martin-LoechesI,Dimopoulos G, et al. COPD patients with ventilator-associatedpneumonia: Implications for management. Eur J ClinMicrobiol Infect Dis 2015; 34 : 2403-11.
Kasuya Y, Hargett JL, Lenhardt R, Heine MF, Doufas AG, Remmel KS, et al. Ventilator-associated pneumonia in critically ill stroke patients: frequency, risk factors, and outcomes. J Crit Care.2011; 26: 273-79.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื่อในโรงพยาบาล พ.ศ. 2558-2560 , มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.
สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิส ปี พ.ศ. 2560-2561
ไรจูน กุลจิตติพงศ์. กรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะรายการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2560; (14 : 1) 63.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม