การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่ส่งผลกระทบ รุนแรงต่อทั้งสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดการชัก เกิดภาวะของโรคอื่นที่ร้ายแรงอย่างฉับพลัน ในขณะที่ทารกอาจเกิดภาวะ เจริญเติบโตช้าในครรภ์ของการคลอดก่อนกำหนดได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดสำหรับพยาบาลห้องคลอดในการพยาบาลผู้คลอดในระยะวิกฤตจากภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์จนเกิดการคลอดก่อนกำหนด
วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นกรณีศึกษาผู้คลอด 2 ราย ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาผู้คลอดทั้ง 2 ราย ทำให้การบริหารจัดการดูแลรักษาพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะคุกคามผู้คลอดและทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้คลอดและทารกปลอดภัย
สรุป : บทเรียนรู้จากกรณีศึกษาครั้งนี้ทราบได้ว่าการประเมินภาวะเสี่ยงของผู้คลอดตั้งแต่แรกรับไว้ในห้องคลอดเป็นสิ่งสำคัญ ในแต่ระยะของการคลอดได้รวดเร็วถูกต้องครบถ้วนสู่นำแนวปฏิบัติการพยาบาล สำหรับพยาบาลห้องคลอดในระยะวิกฤตจากภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์จนเกิดการคลอดก่อนกำหนดอย่างเหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ : การพยาบาล ความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด
References
สุรศักดิ์ จันทรแสงอร่าม. การดูแลรักษาผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรงที่อายุครรภ์น้อย.ใน: ธิตินันท์ ตัณสถิตย์, ประพนธ์ จารุยาวงศ์, บรรณาธิการ, การดูแลภาวะวิกฤติ ขณะเจ็บครรภ์คลอด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2552:21-30.
พัญญู พันธ์บูรณะ. การพยากรณ์และการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด.ใน: อภิชาต จิตต์เจริญ, บรรณาธิการ, ใต้ร่มพระบารมีรามาธิบดี เพื่อสุขภาพของปวงประชา. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2550:276-288.
สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, ธีระ ทองสง. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์.ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่ง จำกัด; 2555:293-306.
นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ, ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร.การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.ใน:อภิชาต จิตต์เจริญ, บรรณาธิการ, ใต้ร่มพระบารมีรามาธิบดี เพื่อสุขภาพของปวงประชา. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2550:291-294.
ปาริชาติ บัวหลวง. ผลของการส่งเสริมพลังอำนาจของมารดาต่อความเครียดและการแสดงบทบาทมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะวิกฤต[การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
วัจมัย สุขวนวัฒน์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์. ใน: มณีภรณ์ โสมานุสรณ์, ดวงหทัย ศรีสุจริต, ปราชญาวตี ยมานันตกุล, ปราณี แสดคง, วัจมัย สุขวนวัฒน์, บรรณาธิการ. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์:ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: บริษัท ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด; 2551:106-136.
สุภาพ ไทยแท้. การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวการณ์เจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด: การพยาบาลสูติศาสตร์ภาวะผิดปกติในระยะคลอด.กรุงเทพฯ:พิมพ์สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2554:177-143.
ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดก่อนกำหนด.ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่ง จำกัด; 2555:221-228.
ศิริพร ขัมภลิขิต. คู่มือการวินิจฉัยการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท ; 2542.
จารุณี อ่วมแดง. การพัฒนาแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ห้องคลอดโรงพยาบาลชัยภูมิ [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา, ชาญชัย วันทนาศิริ. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์.ใน: ถวัลย์วงศ์ รัตนสิริ,ฐิติมา สุนทรสัจ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยชุดที่11; 2555:76-88.
Piliitteri,A. Maternal and child health nursing: care of the childbearing and childbearing family. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams& Wilkins. 2007
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม