การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศูนย์เด็กเล็ก, ปลอดโรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคเทศบาล ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี (Technology of Particiption : TOP) กลุ่มตัวอย่างคือนายกเทศมนตรีตำบล นักวิชาการศึกษา คณะกรรมการศูนย์เด็กเล็ก ครูพี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครองเด็ก
ผลการวิจัย : พบกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37 ปี หลังการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องมีระดับความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กอยู่ในระดับสูง และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น โดยกำหนดโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถติดตามประเมินผลสู่การพัฒนาต่อไป
References
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. สถานการณ์โรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7. กรมคบคุมโรค, 2561 : 23.
Junram, Sunthorn. Operation Model of Child care center in accordance With the disease-free Standards of child care centers, Ban Nongbok, Tambon puhtthaisong, puhtthaisong District, Buriram Province. Mahasarakham Hospital Journal, 2017 12(1),151-158.
เพ็ญประภา เบญจวรรณ. ผลการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ : กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่โรงเรียนเทศบาล ๑ อ.เมือง จ.นราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2552 : 1(2), 126-140.
กาญจนวรรณ บัวจันทร์. ความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคของศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ; 255 9: 27(2), 39-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม