การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • สุนีรัตน์ สิงห์คำ
  • ผดุงศิษย์ ชำนาญบริรักษ์

บทคัดย่อ

บทนำ : จากสถิติ เมื่อปี พ.ศ. 2557-2559 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังใน อำเภอแกดำ มีแนวโน้มสูงขึ้นการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลใน ผู้ป่วย มีความสำ คัญยิ่ง

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) โดยกลุ่มภาคีเครือข่าย ชมรมโรคไตเรื้อรังภาพครอบครัว เยาวชนต้นแบบจิตอาสาในโรงเรียนและกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-3 และผู้ดูแล จำนวน 1,110 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-3 และข้อมูลทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาค่า Creatinine (Cr.) กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-3 จำนวน 270 คน ก่อนและหลังดำเนินการ โดยกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ ที่ 1-3 และผลการตรวจเลือด Creatinine (Cr.) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หาค่าความถี่ (ร้อยละ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา : อัตราการกรองของไตค่า eGFR<4ml/min/1.73 ตาร างเมตร ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-3 (270 คน) ร้อยละ 63.33 ลดระยะความรุนแรงมากที่สุด คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 ร้อยละ 23. 33 ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความรู้โรคไตเรื้อรัง ก่อนดำเนินการ มีความรู้ ร้อนละ42.6 หลังดำเนินการมีความรู้ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 83.0 ด้านการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยรับประทานอาหารเค็ม ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 89.6 (gif.latex?\dot{\bar{x}} = 3.11 S. D =1.411) หลังดำเนินการ มีการรับประทานอาหารเค็มลดลง ร้อยละ 72.6 (gif.latex?\bar{x}=1.53 S.D =1.413) ด้านการออกกำลังกายของผู้ป่วยมีการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 68.9 (gif.latex?\dot{\bar{x}} =1.01 S.D =.783) หลังดำเนินการผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย ร้อยละ 93.3 (gif.latex?\bar{x} =1.91 S.D =.915) จากสมมุติฐานการมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แสดงว่าเชื่อถือได้ 95%(P=0.05)

สรุป : การนำแนวทางปฏิบัติเดียวกันมาใช้ทั้งเครือข่ายสามารถส่งผลการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ และชะลอไตเสื่อม

References

มัณฑนา ภานุมาภรณ์.การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน:มโนทัศน์สำคัญสำหรับการดูแล.ชลบุรี : พี เพรส ; 2549.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.โรคไต:ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญของประเทศ รัฐควรมีมาตรการป้องกันและเพิ่มการเข้าถึงอย่างเร่งด่วน [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร:2556[สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559].แหล่งข้อมูล :www.wops.moph.go.th/ops/thp/thp/userfiles/file/

คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท.ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุท้องต่อเนื่อง.สงขลานครินทร์เวชสาร 2552; 25(3) : 171-77.

อัมพร ซอฐานานุศักดิ์.บทบาทพยาบาลกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. Journal Nursing Science 2551; 26(3) : 33-42.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ.มหาสารคาม: คลังนานา ; 2550.

อนุตตร จิตตินันท์.โรคไต กลไก พยาธิสรีวิทยา การรักษา.กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์ แอนเจอร์นิล พับลิเคชั่น; 2550.

วุฒิเดช โอภาสเจริญสุข.โรคไตจากเบาหวาน.กรุงเทพมหานคร : เท๊กซ์ แอนเจอร์นิล พับลิเคชั่น;2550.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาไต [อินเทอร์เน็ต].2558 [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2559]; แหล่งข้อมูล:www.mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

โรงพยาบาลแกดำ.รายงานประจำปี โรงพยาบาลแกดำ, จังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคาม:โรงพยาบาลแกดำ ;2557.

สุนีรัตน์ สิงห์คำ, การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน โดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่าย แบบมีส่วนร่วม อำเภอแกดำ; 2559

เทพ หิมะทองคำและคณะ. การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2547

สุนีย์ เก่งกาจ.การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ .เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

นัทธมน หรี่อินทร์ม,ศศิพร ขวานอก,ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น .วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม; 2561:15(1),53-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28