การศึกษาสภาพการดดำเนินงานในการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์
  • รุ่งฤดี อุสาหะ

คำสำคัญ:

สภาพการดำเนินงาน, อัตลักษณ์บัณฑิต, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารและอาจารย์จำนวน 240 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 ถึง เดือนกรกฎาคม 2562 เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) สภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) สภาพการดำเนินงานในการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต 3) ปัญหาการดำเนินงานในการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตและ 4) ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี ่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตและการประเมินผลที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์บัณฑิต 2) สภาพการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนและโครงการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์บัณฑิต พบว่ามีการดำเนินงานในระดับปานกลาง การประเมินอัตลักษณ์บัณฑิต นักศึกษามีพฤติกรรมด้านจิตบริการสูงที่สุด รองลงมาด้านการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการและด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ ในด้านการสร้างความเข้าใจให้บุคลากร และนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัญหาการดำเนินงาน พบว่าการจัดทำแผนงานหรือโครงการยังไม่เน้นการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตมากที่สุด 4) ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนการสอนที่เน้นอัตลักษณ์บัณฑิต และควรนำผลการประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตในปีที่ผ่านมาในการกำหนดแนวทางการพัฒนา ควรจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีตัวชี้วัดเกี่ยวกับอัตลักษณ์บัณฑิต และควรพัฒนาความรู้และทักษะให้กับบุคลากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง

สรุป : การพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต สามารถดำเนินการได้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดทำโครงการ และกำหนดในแผนปฏิบัติการให้ชัดเจน

References

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 2558;1(2):3-14.

Lairio M, Puukari S, Kouvo A. Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research. 2013;57(2):115-131.

Nygaard C, Serrano MB. Student’s identity construction and learning: reasons for developing a learning-centred curriculum in higher education. Journal of Education Research. 2009; 3(3):233-253.

Rowles, Graham D, Chaudhury H. Home and Identity in Late Life. New York: SpringerPublishing Company; 2005.

Woodward Kath. Guestioning Identity: Gender, Class, Ethnicity. (2nd ed). London: Licensing Agency; 2004.

กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก (ปรับปรุงที่1). กรุงเทพมหานคร; 2556.

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์. พ.ศ.2552 เอกสารแนบท้าย ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์; 2552.

พอเพ็ญ ไกรนรา และคณะ. การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2545. สงขลา: เทมการพิมพ์ ; 2551.

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, พิมพิมล วงศ์ไชยา, หทัยรัตน์ บรรณากิจ, สิริสุดา เตชะวิเศษ, สมศรี สัจจะสกุลรัตน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์การบริการ สุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 2560; 44(1):9-22.

Fetterman DM. Empowerment evaluation : A introduction to theory and practice. In Fetterman DM, Kaftarian SJ, Wandersman A. (Eds). Empowerment evaluation : knowledge and tools for selfassessment & accountability. Thousand Oaks: CA Sage; 2001.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, และวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. การศึกษากลวิธี การพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2558; 13(2):117-132.

จิราพร วรวงศ์, เนตรนภา กาบมณี, พรพรรณ มนสัจจกุล, ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงโดยใช้ชมุชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(พ.ค.-มิ.ย.):54-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-14