การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบระหว่างการใช้ยาชาเฉพาะที่ กับการฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชวลิต สงครามยศ

คำสำคัญ:

การผ่าตัดไส้เลื่อน, ไส้เลื่อนขาหนีบ, ยาชาเฉพาะที่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โดยปกติการผ่าตัดไส้เลื ่อนขาหนีบในโรงพยาบาลมหาสารคามจะใช้วิธีการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและการดมยาสลบ ซึ่งพบว่าทั้งสองวิธียังมีภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ : ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการฉีดยาชาเฉพาะที่กับการฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลัง

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดไปข้างหน้า(prospective randomized clinical trial) โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่มารักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ในช่วงระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2559 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2560 แบ่งเป็นกลุ่มที่ฉีดยาชาเฉพาะที่ 40 ราย และกลุ่มที่ฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง 40 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติ Independent samples t-test ,Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา : ไม่พบความแตกต่างของข้อมูลพื ้นฐานในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม และภาวะแทรกซ้อนไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.494) ระยะเวลาในการนอนรักษาที่โรงพยาบาลในกลุ่มที่ฉีดยาชาเฉพาะที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายพบว่ากลุ่มที่ฉีดยาชาเฉพาะที่ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

สรุปผล : จากผลการวิจัยครั้งนี้ การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบโดยวิธีการฉีดยาชาเฉพาะที่สามารถทำการผ่าตัดได้โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อน ลดเวลานอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายได้

References

Hutsacha Nueaitong. The Incidence of Spinal Anesthetic Complications: A Case Study in Kosumpisai Hospital, During the Year 2009-2011 Hutsacha Nueaitong ศรีนครินทร์เวชสาร .2555; 27(3): 297-301 Srinagarind Med J ,2012 ; 27(3) : 297-301.

นิภาพันธ์ สาสิงห์, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, ทิพยวรรณ มุกนำพร, กาญจนา อุปปัญและ สมยงค์ ศรีชัยปัญหา สำรวจภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิค Spinal หรือ Epidural Block ชนิดฉีดครั้งเดียวในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์ เวชสาร, 2551 ; 23 : 311-316.

Moreira H Jr, Moreira JP, Isaac RR, et al. Morphine spinal block anesthesia in patients who undergo an open hemorrhoidectomy: a prospective analysis of pain control and postoperative complications. Ann Coloproctol , 2014 ; 30 (3):135-140. doi :10.3393/ac.2014.30.3.135

Gultekin, F.A., Kuruahvecioglu, O., Karamercan, A. et al. A prospective comparison of local and spinal anesthesia for inguinal hernia repair Hernia, 2007 ; 11 : 153–156.

Comparison of Local and Spinal Anesthesia for Inguinal Hernia Repair at Hatyai Regional Hospital: a Randomized Controlled Trial Study. Bunlue Chowdok, Araya Khaimook Department of General Surgery, Hatyai Regional Hospital, Songkla Med J 2010 ; 28(5) : 247-255

ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ . การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบด้วยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่กับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและการดมยาสลบ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2553 ; 23(3):

บารมี บุญเลิศ .การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 2553 ; 6(2) : 133-137.

กมล กัญญาประสิทธิ์.การเปรียบเทียบการผ่าตัดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบระหว่างวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่และการฉีดยาชาเข้าที่ช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข ,2558 ; 24(6) : 1167-1172.

Ozgun H, Kurt MN, Kurt I, et al. Comparison of local, spinal, and general anaesthesia for inguinal herniorrhaphy. Eur J Surg , 2002; 168 : 455–459.

Bouklai S. Hernia Repair under Local Anesthesia Step by Step Procedure.วารสารกรมการแพทย์, 2559 ; 41(6) : 132-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-14