รูปแบบการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของ สมุนไพรในแอลกอฮอล์ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, เครื่องดื่มแอลกอฮอลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในแอลกอฮอล์ ประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในแอลกอฮอล์ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจากแกนนำชุมชนคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน และกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนตัวอย่าง 247 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2561 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์
ผลการศึกษา : กระบวนการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย 1) แกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง 2) กำหนดกิจกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของเครือข่าย 3) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน 4) พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการตระหนักบทบาท 5) สร้างสัญญาประชาคม 6) ปฏิบัติตามแผนงาน 7) การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง 8) ประเมินผล 9) การถอดบทเรียน และแกนนำชุมชนมีส่วนร่วมกระบวนการในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.32) ประชาชนที่ดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในแอลกอฮอล์ ลดลงจากร้อยละ 22.67 เป็นร้อยละ 7.29 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มบำรุงร่างกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในแอลกอฮอล์ ได้แก่ เพศชาย (ORadj = 3.1 ,95%,CI=2.1-4.8,p–value =0.01) ช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป (ORadj = 2.8, 95% ,CI=1.1-4.3,p–value =0.02) และทัศนคติระดับต่ำ (ORadj = 3.8 ,95%,CI=1.1-4.3,p–value =0.02)
สรุป : ปัจจัยความสำเร็จที ่สำคัญคือ การมีแกนนำชุมชนที ่เข้มแข็ง การมีเครือข่ายการดำเนินงานจากหลายภาคส่วน และการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
References
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สําคัญการสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่ม เครื่องดื่มสุราของประชาชน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น ; 2554.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. การประชุมสุราระดับชาติครั้งที่ 10 (The 10th National Alcohol Conference) วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2561 ณเซ็นจูรีพาร์ค. 2018.
นุชน้อย ประภาโส และวิมล สุวรรณเกษาวงษ์. การจัดการปัญหาการนำยาแผนโบราณไปใช้ในทางที่ผิด: การณีศึกษายสบำรุงร่างกายตราพญานาค. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560;9(2 กค.-ธค. 2560) : 385-395.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชื่นชม. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. เอกสารอัดสำเนาประกอบการประชุม. 2561.
Department of Medical Sciences. Summary of the analysis of alcohol and solvents in traditional medicines solution in 2015 [online] 2015 [cited 14 Nov 2019].
Hsieh, Y. F., Bloch, A. D., & Larsen, D. M. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, (17), 1623-1634.
สุดเขต เดชพิทักษ์ยนต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในเยาวชนชาวเขา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. 2561.
กานต์นะรัตน์ จรามร, นันทวดี เนียมนุ้ย และไพโรจน์ เสาน่วม. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560; 11 (2 เมษายน-มิถุนายน) : 268-276.
ทรงพล ศาลาคาม,อารยา ประเสริฐชัย และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. Disease Control Journal 2017 ; 43(1 Jan - Mar 2017) : 25-34.
ญาณิดาพัฒน์ เกสร์ชัยมงคล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์. Silpakorn Educational Research Journal. 2016 ; 8(1) : 299-311.
ประภาส ธนะ,จิราภา บุญศิลป์,นงคาร รางแดง,นิริธร ยิ่งเรงเริง และจันทิมา เขียวแก้ว. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของทหารกองประจำการ จังหวัดสระบุรี. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2017 : 226-238.
สุรเมศวร์ ฮาชิม,รัตนา เลิศสุวรรณศรี และรมิดา ศรีเหรา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology. 2017 ; 6(1) : 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม