การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รำไพ เกตุจิระโชติ

คำสำคัญ:

การพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง กรณีศึกษา 2 ราย

วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนากรณีศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง ใช้กระบวนการพยาบาลโดยการวินิจฉัยการพยาบาล การให้การพยาบาล และผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 ข้อ กรณีศึกษาผู้ป่วย เลือกแบบเจาะจงจำนวน 2 ราย ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ ผู้ป่วยและญาติ และสังเกตการให้การพยาบาลตามกระบวนการ

ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1: มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ปวดฟันเป็นประจำ มาด้วยอาการไข้สูง บวมที่คาง แก้ม ใบหน้าและกราม กลืนลำบาก รายที่ 2: มีอาการไข้สูง ปวดบวมที่ก้อนบริเวณแก้มและคางด้านซ้าย อ้าปากลำบาก ทั้ง 2 ราย มีพยาธิสภาพและความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน โดยข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ต่างกัน 6 ข้อ ที่สำคัญคือ รายที่ 1 มีความเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ รายที่ 2 มีโอกาสเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจากการติดเชื้อของต่อมน้ำลายหน้าหู การพยาบาลที่สำคัญประกอบด้วย การป้องการอุดกั้นทางเดินหายใจ การป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อน การบรรเทาอาการปวด การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมบุคคลในครอบครัวในการดูแลทางเดินหายใจ การดูแลสุขวิทยาในช่องปาก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีและลดอุบัติการณ์การเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ผู้ป่วยปลอดภัยและจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้ทั้งสองราย

References

ชลวิทย์ วงศ์ไพโรจนพานิช. การติดเชื้อรุนแรงในบริเวณขากรรไกรและใบหน้า ภาวะ Ludwig’s Angina. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร. 2562 ; 34(1) : 136-140.

ชวน ชีพเจริญรัตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า. 2560 ; 18(1) : 44-55.

Poeschl PW, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological
spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod. 2010 ; 110 : 151-156

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2561; 62(5):364-373.

ปิยวรรณ คงตั้งจิตต์. Deep neck infection : เปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน. วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า. 2556 ; 14(1) : 36-51.

รัศมี ซิ่งเถียรตระกูล. Deep neck infection in Bhumibol Adulyadej Hospital [วิทยานิพนธ์แพทยศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช; 2550

ดรุณี ชุณหะวัต. การดูแลผู้ป่วยโรคหู คอ จมูก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วี.เจ พริ้นติ้ง; 2540.

ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์. การพยาบาลหู คอ จมูก (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สถาบันพระบรมราชชนก ; 2552.

ชูเกียรติ วงศ์นิจศีล. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อและมีฝีหนองของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร. 2551 ; 32 : 5-12.

วิชาญ จงประสาธน์สุข. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอ 127 รายในโรงพยาบาลน่าน. ลำปางเวชสาร. 2554 ; 32(2) : 42-50.

กรีฑา ม่วงทอง, ปริยนันทน์ จารุจินดา และ ธฤต มุนินทร์นพมาศ. หู คอ จมูก เร่งด่วน. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์ ; 2552.

กรีฑา ม่วงทอง, อุศนา พรหมโยธิน, สายสุรีย์ นิวาตวงศ์, ศวยส เหรียญมณี. Lecture notes in ENTสำหรับ: นักเรียนแพทย์ทหาร นักศึกษาแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์ ; 2555.

วัฒนา สินกิจเจริญชัย. โรคติดเชื้อในช่องพังผืดบริเวณศีรษะและลำคอ. ใน: วิทูร ลีเกริกก้อง, วันดี ไข่มุกด์ และกรองทอง วงศ์ศรีตรัง. ตำรา หู คอ จมูก. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992) ; 2559. 241-268.

Abshirini H, Alavi SM, Rekabi H, Hosseinnejad F, Ghazinpour A, Shabab M. Predisposing factors for the complications of deep neck infections.Iran J Otorhinolaryngol. 2010 ; 22 : 97-102

Kelvin C. Jones, John Silver, Willium S. Millar, and Louis Mandel. Chronic Submasseteric Abscess: Anatomic, Radiologic, and Pathologic Features. AJNR Am J Neuroradiol 2003 ; 24 : 1159-1163

กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสถิติผู้ป่วย ประจำปี 2560-2562. มหาสารคาม. 2562.

พรสิริ พันธสี. การพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร จำกัด ; 2554.

วิจิตรา กุสุมภ์ และ สุลี ทองวิเชียร. ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล : กรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : พี.เค.เค พริ้นท์ติ้ง จำกัด ; 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-19