การพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม ในดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้า (ผ่าด้านหลัง) โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุมาลี วุ่นเหลี่ยม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้า(ผ่าด้านหลัง) เพิ่มประสิทธิภาพ และศึกษาความพึงพอใจของการใช้แนวปฏิบัติ

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) รวบรวมข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2559– 2561 ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี ่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้าจำนวน 112 ราย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด   โรงพยาบาลมหาสาคาม จำนวน 21 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ทดสอบความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.89 แบบสอบถามด้านข้อมูลทั่วไปแบบประเมินประสิทธิภาพการใช้แนวทางการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีความค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า : หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติด้วยการนำนวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยมเข้ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้า (ผ่าด้านหลัง) ในห้องผ่าตัดก่อนส่งผู้ป่วยเข้าห้องพักฟื้น แบ่งเป็น 3 ระยะ ทำให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ในมาตรฐานการรักษาจาก 52.63% เป็น 60.53 % , 91.18% และ100% ตามลำดับ ส่งผลให้พยาบาลห้องผ่าตัด มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี ่ยนข้อสะโพกทั ้งเบ้า (ผ่าด้านหลัง) ลดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อสะโพกหลุดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้และประสิทธิภาพในการนำแนวปฏิบัติมาใช้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.50, S.D. = 0.52) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.42 , S.D. = 0.42)

References

โรงพยาบาลมหาสารคาม . แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพก 2559-2561.

สาธิต เที่ยงวิทยาพรและคณะ.ออร์โธปิดิกส์วิวัฒน์ 4 –กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น ; 2561 : 118-119.

จิณพิชญ์ชา มะมม. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกและข้อ. กรุงเทพฯ ,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2559 : 185-203.

วรรณี สัตยวิวัฒน์ และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : เอ็นพีเพรส ; 2551.

คณาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์.ตำราออร์โธสำหรับนักศึกษาแพทย์.ภาควิชาออร์โธปิดิคส์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น ; 2551 : 78-86.

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. วิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research). วารสารศึกษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)2537 ; 17(2) : 11-5

กิจภรณ์ เอื้อตรงจิตต์ และคณะ.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. วารสารสภาการพยาบาล. กรุงเทพฯ; 2555 ; 27(2) : 5-16.

ลมัย รอดทรัพย์. การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2556 ; 21 : 22-24.

จันทร์เพ็ญ ปุ่งคำน้อย. นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม[อินเทอร์เน็ต]. หนองบัวลำภู: 2561[เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก; http://www.nbhospital.go.th/10704nbh//docstation/com_docstation/102/__60_.pdf

สุมาลี วุ่นเหลี่ยม .ผลของการใช้หมอนสามเหลี่ยมวางระหว่างขาหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวก่อนฟื้นจากยาสลบ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม , 2563 ; 17 (1) : 174-182.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-19