การจัดงานศพปลอดเหล้าของตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
งานศพปลอดเหล้า, ตำบลหนองบัวบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานและข้อเสนอแนะในการจัดงานศพปลอดเหล้า ของตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการจัดงานศพระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2563 และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดงานศพปลอดเหล้า และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดงานศพปลอดเหล้า จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ทั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลายแหล่ง (Data triangulation) และความสามารถไว้วางใจได้ของข้อมูล (Dependability)
ผลการศึกษา : การจัดงานศพปลอดเหล้าของตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกิจกรรมภายใต้การดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองบัว ที่จัดสวัสดิการช่วยเหลืองานศพของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการงานศพปลอดเหล้าครั้งละ 2,000 บาท โดยสมาชิกจะต้องสมัคร เข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองบัวกำหนดผลการดำเนินงานมีการจัดงานศพปลอดเหล้าของสมาชิก ร้อยละ 100 ผลดำเนินการเป็นที่พึงพอใจและมีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนและขยายผลไปสู่การจัดงานรูปแบบอื่น ๆ
สรุปผลการศึกษา : การจัดงานศพปลอดเหล้าเป็นการจัดงานที่ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และลดค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ควรมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนและการขยายผลไปสู่การจัดงานรูปแบบอื่นๆในชุมชน
References
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2014. Switzerland: World Health Organization; 2014.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (บรรณาธิการ). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (บรรณาธิการ). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราย จังหวัด พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.
กิตติพงษ์ พลทิพย์. ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา : กรณีศึกษาตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ
จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2557.
กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และกิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2559; 13(2) : 8-16.
สุพิมล ขอผล และคณะ. การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
การดื่มสุราในชุมชนหมู่บ้านหนองเต่าคำใหม่ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2557; 2(3): 313-324.
อรทัย ศรีทองธรรม และคณะ. การดำเนินงานควบคุมแอลกอฮอล์ในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาโครงการงานศพและงานบุญปลอดเหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2560; 26(2) : 290-298.
สุภาพรณ์ อุดมลักษณ์, ปัณณธร ชัชวรัตน์ และจันทร์จิรา อีนจีน. กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครอบครัว ในการแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนบ้านสันป่าบง ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2557; 24(3) : 90-103.
ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์ และคณะ. งานบุญไร้แอลกอฮอล์ กรณีศึกษางานประเพณีแค่หลวง จังหวัดลำพูนหนึ่งเดียวในโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2561; 11(3) : 27-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม