ความสัมพันธ์ของผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยการตรวจ OF กับการตรวจดัชนี เม็ดเลือดแดงMCV/MCH ในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • ธีรารัตน์ จิตประเสริฐวงศ์

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย, การตรวจ OF การตรวจดัชนีเม็ดเลือดแดง, คู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยการตรวจ OF และ MCV/ MCH

วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2560–28 กุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 93 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์นับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Mindrayรุ่น BC 5380 และชุดน้ำยาตรวจ OF เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์

ผลการวิจัย : การตรวจ OF ให้ผล Negative มากกว่าการตรวจ MCV/MCH คือ ร้อยละ 56.7 และร้อยละ 9.7 ตามลำดับ แต่การตรวจ MCV/MCH ให้ผล Positive มากกว่าการตรวจ OF คือ ร้อยละ 90.3 และร้อยละ 43.5 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า การตรวจ OF มีความสัมพันธ์กับการตรวจ MCV/MCH (p= .001)

ข้อเสนอแนะ : จากการวิจัยครั ้งนี ้ชี ้ให้เห็นว่าการตรวจ OF มีความสัมพันธ์กับการตรวจ MCV/MCH สามารถใช้ตรวจทดแทนกันได้ แต่จากผลความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจ OF กับการตรวจ MCV/MCH พบว่า MCV/MCH มีผล Positive มากกว่าการตรวจ OF มาก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าค่า cut off ของ MCV/MCH อาจกว้างมากเกินไปทำให้มีผลลบปลอมค่อนข้างมาก ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อประหยัดงบประมาณในการตรวจคัดกรองต่อไป และการตรวจ OF เป็นการอ่านด้วยตาเปล่าซึ่งอาจแตกต่างไปได้ตามผู้อ่าน ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมต่อไป

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา วิชาการ ธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 13 ประจำปี 2550 และแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร; 2550: 1-42.

วิชัย เทียนถาวร.คำประกาศนโยบายส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบิน ผิดปกติของประเทศไทย. การประชุมวิชาการ ธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 11 วันที่ 1-2 กันยายน 2548. กรุงเทพมหานคร

มานิต ธีระตันติกานนท์ และคณะ. คู่มือทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ 2552 :1-8. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttp://nih.dmsc.moph.go.th/ login/filedata/Guideline_Book%201.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560.

คมสัน อยู่เย็นและคณะ .“Cut off ของ MCV และ MCH ที่เหมาะสมต่อการคัดกรองอัลฟา-ธาลัสซีเมีย1 และบีตาศูนย์-ธาลัสซีเมีย: ข้อมูลจากโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง”.วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 2554 23(4) : 143-150.

กุลนภา ฟู่เจริญ, สุพรรณ ฟู่เจริญ. การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียในประเทศไทย. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 2550 ; 165-177.

วิมล พันสถา. “ประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียที่โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อประเมินความถูกต้องของผลการคัดกรองของโรงพยาบาลแม่จัน,” ระบบฐานข้อมูลภาคนิพนธ์คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553. เข้าถึงได้จากhttp://nih.dmsc.moph.go.th

พรทิภา สัจจาสังข์ และคณะ ประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียพร้อมกับการใช้ตัวอย่างเลือดควบคุมคุณภาพ ภายในที่โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์จังหวัดชัยภูมิ. วารสารเทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด, 2554 ; 23 (1) : 34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-26