การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักและมีโรคร่วม ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สมปรารถนา คลังบุญครอง โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก, โรคร่วม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาล 

        รูปแบบและวิถีการวิจัย : กรณีศึกษา 2 ราย ศึกษาช่วงเดือน มกราคม 2562 – มีนาคม 2562 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการสังเกต วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อวินิจฉัยการพยาบาล กิจกรรมการพยาบาล

        ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นสตรีสูงอายุ  ลื่นหกล้มกระดูกสะโพกหักและมีโรคร่วม กรณีศึกษาที่ 1 เบาหวานและไตวาย กรณีศึกษาที่ 2 เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไตวาย ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกันได้แก่ ปวดกระดูกต้นขา  วิตกกังวลไม่ทราบวิธีปฏิบัติตัว เสี่ยงต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัด  ปวดแผล เสี่ยงต่อการหลุดของข้อสะโพกเทียม เสี่ยงต่อภาวะช็อก มีไข้ โลหิตจาง เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ    เสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึกและลิ่มเลือดในปอด  เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ  วิตกกังวลต้องพึ่งพาผู้อื่น และพร่องวิธีปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน ข้อที่ต่างกันคือ กรณีศึกษาที่ 1 พบภาวะท้องผูก กรณีศึกษาที่ 2 พบมีความดันโลหิตสูง

      สรุปผล : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ ความ เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดี

References

Wilarat, W. Fracture of Femur. [Internet] 2019 [cited 2020 May 28]. Available from: http.//ortho.md.chula.ac.th

Makkabphalanon K, Suppawach P. Elderly care post total hip arthroplasty. Veridian EJ Sci Technol Silpakorn Univ. 2016; 3(6): 57-66.

Conn KS, Clarke MT, Hallett JP. A simple guide to determine the magnification of radiographs and to improve the accuracy of preoperative templating. J Bone joint Surg Br. 2002; 84(2): 269-72.

Maher AB, Meehan AJ, Hertz K, Hommel A, MacDonald V, O’Sullivan MP, et al. Acute nursing care of the older adult with fragility hip fracture: an international perspective (part 1). Int J Orthop Trauma Nurs. 2012; 16(4): 177-94.

พัฒน์ วรรณปิยะรัตน์. อัตราการเสียชีวิตและความสามารถในการเดินหลังกระดูกสะโพกหัก: เปรียบเทียบในกลุ่มผ่าตัดกับไม่ผ่าตัด. วรสารวิชาการสาธารณสุข. 2551; 17(2): 411-417.

Klaewklong, S, Chanrungvanich W, Danaidutsadeekul S, Riansuwan K. Relation of comorbidity, grip strength and stress to hip fracture patient’s post-operative functional recovery. Thai Journal of Nursing Council. 2014; 29(2): 36-38.

Gullberg B, Johnell O, Kanis JA. World-wide projections for hip fracture. Osteoporosis Int. 1997; 7: 407-13.

กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลขอนแก่น; 2560-2563.

ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30