การพัฒนารูปแบบการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เพิ่มพูน ศิริกิจ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการส่งต่อ, ทารกที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

             วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม

             วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการส่งต่อ 3) การสังเคราะห์รูปแบบ และ 4) การนำรูปแบบไปใช้ เก็บข้อมูลระหว่าง ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 ผู้ร่วมวิจัยเป็น แพทย์ พยาบาล 24 คนจากโรงพยาบาลชุมชน 12 แห่ง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย1) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการส่งต่อ 2) แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนขณะส่งต่อ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล     4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการนำรูปแบบการส่งต่อไปใช้  5) การสนทนากลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น 2) รูปแบบการส่งต่อ และ3) แนวปฏิบัติในการส่งต่อ

             ผลการศึกษา : รูปแบบการพัฒนาประกอบด้วยการพัฒนาด้านศักยภาพผู้ให้บริการนวัตกรรมและแนวปฏิบัติ ข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 

             สรุปผลการศึกษา : ผลลัพธ์พบการส่งต่อทารก 33 ราย มีคุณภาพเพิ่มขึ้นจาก 90.5% เป็น 98.7% ไม่พบอาการทรุดขณะนำส่ง พบท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดลดลงจาก 33.3% เป็น 6.06%  ใช้เวลาจากห้องฉุกเฉินถึงเข้าหน่วยงาน ลดลงจาก 25 นาทีเหลือ 15 นาที โรงพยาบาลเครือข่ายทุกแห่งรับทารกส่งกลับได้ และการส่งกลับเพิ่มขึ้นจาก 3.2% เป็น 27.8% ความพึงพอใจทีมส่งต่อรูปแบบการส่งต่อทารกเพิ่มขึ้นจาก 90% เป็น 96.81%

References

จิรวรรณ อารยะพงษ์,ทัสนีย์ สุมามาลย์,พิจณา เพ็ญกิตติ.แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาทารกแรกเกิด.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2562.

สำนักงานสาธารณสุข.งานอนามัยแม่และเด็ก.สถิติทารกเกิดมีชีพ ปี2560-2562.มหาสารคาม:มหาสารคาม; 2561.

โรงพยาบาลมหาสารคาม.กลุ่มการพยาบาล.สถิติหอผู้ป่วยทารกป่วย /ทารกวิกฤต ปี2560-2562.มหาสารคาม:โรงพยาบาล; 2562.

Kemmis S,McTaggart R. The action research planner.3rd ed.Victoria:Deakin University press; 2004.

อังคนา จันคามิ.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

Settler CB.Stetler model.Oxford:Wiley-Backwell;2010.

จักรพงศ์ ปิติโชคโภคิน, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตโรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี.Journal of Nursing and Health Care 2562;37:88 - 96.

พัฒนา พรหมณี ,ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด,ปณิธาน กระสังข์.แนวคิดและการพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข.สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30