การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อัชฌาณัฐ วังโสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต https://orcid.org/0000-0003-4850-3291
  • ฐิตินันท์ วัฒนชัย

คำสำคัญ:

โรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน, การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula

          รูปแบบและวิธีวิจัย : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula จำนวน 2 ราย เข้ารักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2563 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล รวมระยะวิกฤต กึ่งวิกฤต และเตรียมจำหน่ายกลับบ้าน

          ผลการศึกษา : ผู้ป่วยรายที่ 1 มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยรายที่ 2 มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาด้วยมีไข้ ไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ และได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula เพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกันคือ การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากการติดเชื้อของปอดและการขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเสมหะเหนียวไม่สามารถไอออกได้เอง จนกระทั่งอาการดีขึ้น ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

          สรุปผลการศึกษา : การรักษาด้วย High-flow nasal cannula ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันสามารถป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่และป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะชำนาญ และการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะแทรกซ้อน

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/ new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf

Hinkle JL, Cheever KH. Brunner and Suddarth’s textbook of medical-surgical nursing (14thed). Wolters kluwer india Pvt Ltd; 2018.

พรรณิภา บุญเทียร. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ. ใน วันดี โตสุขศรี และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส; 2559: 38-56.

เพชร วัชรสินธุ์. High-flow nasal cannula O2 therapy. Clinical Critical Care 2017; 25(2): 32- 36.

สิริรัตน์ คำแมน, มงคล สุริเมือง, และศรีสุดา อัศวพลังกูล. ผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Non-invasive ventilator ชนิด high flow nasal cannula ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลแม่สอด. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก:http://203.157.71.172/academic/web/files/2563/r2r/MA2563- 001- 02-0000000192-0000000078.pdf

Helviz Y, Einav S. A systematic review of the high-flow nasal cannula for adult patients.Annual Update in Intensive Care and Emergency Medicine 2018; 177-91.

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, และสุรัตน์ ทองอยู่. การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วย High flow nasal cannula. เวชบันทึกศิริราช 2563; 13(1): 60-68.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. รายงานผู้ป่วยในที่พบบ่อย [Intranet]. กรุงเทพมหานคร: [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2563].

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and application. New York: McGraw-Hill. 1994.

เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(2): 72-82.

Baldomero AK, Melzer A, Greer N, Majeski BN, Macdonald R, Wilt TJ. Effectiveness and harms of high-flow nasal oxygen (HFNO) for acute respiratory failure: a systematic review protocol BMJ 2020; 10(2): 1-5.

Rochwerg B, et al. The role for high flow nasal cannula as a respiratory support strategy in adults: a clinical practice guideline. Intensive Care Medicine 2020; 46(12): 2226-37.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31