ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ สรวมศิริ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ความภาคภูมิใจในตนเอง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้า ความชุก และระดับของภาวะซึมเศร้า ในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study design ) ในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 332 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of The Patient Health Questionnaire for Adolescents: PHQ-A) แบบสอบถามวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์ก ฉบับภาษาไทย (Thai version of Rosenberg Self Esteem Scale – Revised version) วิเคราะห์หาความชุกและระดับของภาวะซึมเศร้าด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าโดยวิธี Pearson Chi square

          ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็น ร้อยละ 36.4   ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยคิดเป็น ร้อยละ 28.3  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายจ่าย (OR = 2.05, 95% CI =1.22-3.44) สมาชิกในครอบครัวมีภาวะซึมเศร้า (OR = 6.47, 95% CI =1.77-23.68) บิดามีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (p < 0.001) มารดามีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (p  = 0.002) บิดามีอาชีพรับราชการ (p  = 0.035)   ส่วนใหญ่มีความภาคภูมิใจในตนเองระดับสูงคิดเป็น ร้อยละ 57 และเมื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้า ( r = -0.406 ; p < 0.001)

          สรุปผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้านักศึกษาอยู่ในระดับสูง มีหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการมีความภาคภูมิใจในตนเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเฝ้าระวัง คัดกรอง วางแผนเพื่อดูแลและจัดการกับปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ รวมไปถึงการเลือกใช้กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและป้องกันภาวะซึมเศร้าให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

References

Beck, J. S. Cognitive therapy: Basics and beyond (2nd ed.) New York: Guilford; 2011.

Santrock, J. W. Adolescent. New York: McGraw-Hill Education; 2014.

World Health Organization . Depression and Other Common Mental Disorders: Global Health Estimates. Geneva. 2017: 8-24

ดวงใจ วัฒนสินธุ์.การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น:จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24: 1-12

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน, จอมสุรางค์ โพธิสัตย์, รสสุคนธ์ ชมชื่น.ความชุกของโรคจิตเวชในนักเรียนไทยอายุ 13-17 ปี. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2559; 24: 141-53

วงเดือน ปั้นดี.ความชุกและปัจจัยของความซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นตอนปลาย: ศึกษาเฉพาะนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 45: 298-309.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ธรณินทร์ กองสุข, สุภาพร จันทร์สาม.โรคซึมเศร้าและความสูญเสียอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ. ใน: พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์ กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต 2556: 1-13.

กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์.ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในนิมิตคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2555; 32: 11-18.

นุชนาถ แก้วมาตร, จันทนา เกิดบางแขม และชนัดดา แนบเกสร.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2551; 19: 83-95

ดวงใจ วัฒนสินธุ์, สิริพิมพ์ ชูปาน และภาคิณี เดชชัยยศ.การแก้ปัญหาทางสังคมและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29: 87-99

ฐาปกรณ์ เรือนใจ, ณัฐวรินทร์ กฤติยาภิชาตกุล, พิลาสินี วงษ์นุช และวิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก.ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ลำปางเวชสาร 2559; 37: 9-15

ปิยะ ทองบาง.ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร 2562; 10: 27-36

ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, ธนวรรณ อาษารัฐ, พิมพ์ ชูปาน และพรพรรณ ศรีโสภา.ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 23: 31-47

Ratchneewan Ross, Lenny Chiang-Hanisko, Keiko Takeo, Saisamorn Chaleoykitti. Depression and Its Predictors among Nursing Students in Four Countries: USA, Thailand, Taiwan and Japan. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15: 195-201

ฉันทนา แรงสิงห์.ปัจจัยทํานายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงราย.วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26: 42-56

จตุรพร แสงกูล และกนกวรรณ โมสิกานนท์.ภาวะซึมเศร้าในนักเรียนพิการทางการได้ยินชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา.สงขลานครินทร์เวชสาร 2559; 34: 281-288

ตฏิลา จำปาวัลย์.แนวคิดและทฤษฎีภาวะซึมเศร้าทางจิตวิทยา.วารสารพุทธจิตวิทยา 2560; 2: 1-11

วีรยุทธ ประพันธ์พจน์. Genetic studies of neurological and psychiatric disorders in Thailand [Internet]. 2014 [cited 2021 Feb 20]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4087/Verayuth_neurological.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ธรณินทร์ กองสุข, สุภาพร จันทร์สาม. โรคซึมเศร้าและความสูญเสียอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ. ใน: พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. สุขภาพจิตสู่คุณค่าความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต 2556; 1-13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01