เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ถมอุดทา
  • ปริญา ถมอุดทา

คำสำคัญ:

เถาเอ็นอ่อน, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์คอนโดรโพรเทคทีฟ, ข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

               เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เพื่อรักษาอาการอักเสบของโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อมูลวิชาการในประเด็นการพัฒนาสมุนไพรเถาเอ็นอ่อนแบบครบวงจร โดยทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลวิชาการในหัวข้อ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน พฤกษเคมี การศึกษาทางด้านพรีคลินิกและการทดลองทางคลินิก ผลการศึกษาด้านพรีคลินิกพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการบิดตัวโดยใช้กรดอเซติกเหนี่ยวนำในหนูทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังสามารถยับยั้งการอักเสบในโมเดลการใช้สารเอทิล ฟีนิลโพรพิโอเนตเหนี่ยวนำการเกิดหูอักเสบและการใช้สารคาราจีแนนเหนี่ยวนำการเกิดอุ้งเท้าอักเสบในหนูทดลอง การศึกษาการเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการปลดปล่อยสารซัลเฟตไกลโคซามิโนไกลแคนและไฮยาโรแนนในอาหารเลี้ยงเชื้อและมีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์เมทัลโลโปรติเอส-2 โดยไม่มีผลกระทบต่อการอยู่รอดของเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาทางคลินิกจากยาน้ำมันเถาเอ็นอ่อนในการรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคในระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจาก 1 เปอร์เซ็นต์ อินโดเมทาซิน สรุปได้ว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์ลดปวด ต้านการอักเสบและคอนโดรโพรเทคทีฟ ยาน้ำมันเถาเอ็นอ่อนมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างอินโดเมทาซิน โซลูชั่น ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ยาน้ำชนิดรับประทานตำรับโคคลานที่มีส่วนผสมของเถาเอ็นอ่อน พบว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการลดอาการปวดเข่าในภาวะข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ ไม่แตกต่างจากยาเม็ดไดโคลฟิแนค ในการประเมินด้วย Oxford Knee Score อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Drug Act B.E. 2510 (A.D.1967).2013. Rajakijja-Nubegsa. 130, 21D (Feb 14th): 30-49.

Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T, Surarit R, Hahnvajanawong C. In vitro and in vivo anti-inflammatory potential of Cryptolepis buchanani. Journal of ethnopharmacology 2006; 108(3): 349-54.

Hanprasertpong N, Pantong A, Sangdee C, Kunanusorn P, Kasitanon N, Lhieochaiphant S, et al. Cryptolepis buchanani oil formulation versus indomethacin solution in topical therapy for osteoarthritis of the knee: A randomized controlled trial. Journal of Herbal Medicine 2017; 7: 18-26.

Pande M, Dubey VK, Jagannadham M V. Crystallization and preliminary X-ray analysis of cryptolepain, a novel glycosylated serine protease from Cryptolepis buchanani. Acta Crystallogr Sect F Struct Biol Cryst Commun. 2007; 63(2): 74–7.

Mikawlrawng K, Rani R, Kumar S, Bhardwaj AR, Prakash G. Anti-paralytic medicinal plants – Review. J Tradit Complement Med 2018; 8(1): 4–10.

W. Wuthithammaw¯et, Encyclopedia of Herbal Medicine. Collection of Thai Pharmaceutical Principles, Samnakphim Odian Sato, Krung Thep MahaNakhon, Bangkok; 1997.

BGO plant Databases [Internet]. Bangkok.The Botanical Organization; c2011-2017 [cited 2018 March18]. Available form: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=366.

Hanprasertpong N, Teekachunhatean S, Chaiwongsa R, Ongchai S, Kunanusorn P, Sangdee C, et al. Analgesic, anti-inflammatory, and chondroprotective activities of Cryptolepis buchanani extract: in vitro and in vivo studies. Biomed Res Int. 2014; 2014: 978582.

Dutta SK, Sharma BN, Sharma P V. Buchananine, a novel pyridine alkaloid from Cryptolepis buchanani. Phytochemistry [Internet]. 1978;17(11):2047–8. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0031942200887725

National Center for Biotechnology Information. PubChem Compound Database; CID=442629, https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/442629 (cited Mar. 19, 2018).

Venkateswara R, Narendra N, Viswamitra MA, Vaidyanathan CS. Cryptosin, a cardenolide from the leaves of Cryptolepis buchanani. Phytochemistry [Internet]. 1989; 28(4): 1203–5. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0031942289802092

National Center for Biotechnology Information. PubChem Compound Database; CID=21126533, https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/21126533 (cited Mar. 19, 2018).

Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T, Surarit R, Hahnvajanawong C. In vitro and in vivo anti-inflammatory potential of Cryptolepis buchanani. Journal of Ethnopharmacology 2006; 108(3): 349-54.

Firestein GS, Budd RC, Gabriel SE, McInnes IB, O'Dell JR. Kelley's Textbook of Rheumatology E-Book: Elsevier Health Sciences; 2012.

Pongsaree R, Vajaradul Y, Fakkham S, Kamoltham T. Comparison in Efficacy and Safety of Koklan Mixture Formula 3 and Diclofenac for Pain Relieving in Primary Knee Osteoarthritis. Systematic Reviews in Pharmacy. 2020; 11(11): 1457-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31