ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีน ระหว่างตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

คำสำคัญ:

เมทแอมเฟตามีน, สตรีตั้งครรภ์, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทั้งในมารดาและทารก ในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพและไม่เสพสารเมทแอมเฟตามีนที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนมกราคม 2564 สตรีตั้งครรภ์ที่มีผลบวก และ ลบ ของการตรวจหาสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะถูกจัดเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมตามลำดับ ข้อมูลทั่วไป ผลลัพธ์การคลอดของมารดาและทารกของทั้งสองกลุ่มถูกรวบรวมโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและนำมาวิเคราะห์ผล

          ผลการศึกษา : มีสตรีตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวน 236 ราย ถูกรวบรวมเข้าการศึกษา กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมี จำนวน 59 และ 177 ราย, ตามลำดับ ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะใกล้เคียงกัน พบว่าสตรีกลุ่มศึกษามีค่าดัชนีมวลกาย, ฝากครรภ์เฉลี่ย อายุครรภ์เฉลี่ย และร้อยละความเข้มข้นเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (24.3/27.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร, 5.8/10.8 ครั้ง, 37.3/38.3 สัปดาห์ และ 35.0/37.5) ตามลำดับ คลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษของกลุ่มศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 0.04; 95%CI, 0.04-0.16 และOR 0.42; 95%CI, 0.005-0.35) ทารกในกลุ่มศึกษามีน้ำหนักแรกเกิดและอุณหภูมิกายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2,772/3,081 กรัม และ 36.7/37.0 องศาเซลเซียส) ทารกในกลุ่มศึกษามีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.5/3.0 วัน ) คะแนนแอพกาที่ 1 นาที วิธีการคลอด และภาวะตกเลือดหลังคลอดของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          สรุปผลการศึกษา : การเสพสารเมทแอมเฟตามีนในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้สตรีตั้งครรภ์น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เกิดครรภ์เป็นพิษ มีภาวะซีด ทารกน้ำหนักตัวน้อย อุณหภูมิแรกคลอดต่ำและนอนโรงพยาบาลนานขึ้น

References

Substance Abuse and Mental Health Services Administration, Results from the 2010 National Survey on Drug Use and Health: Summary of national findings: NSDUH Series H-41, DHHS Publication No. SMA 11-4658.

Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Perinatal effects of amphetamine and heroin use during pregnancy on the mother and infant. J Med Assoc Thai 2005; 88: 1506-13.

Thamkhantho M, Obstetric Outcomes of Amphetamine Misapplication duration Pregnancy. J Med Assoc Thai 2018; 101: 1680-5.

Cunningham FG, Lenovo JK, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Williams Obstetrics.25th ed. New York: McGraw-Hill, 2018: 234-52.

National Institute on Drug Abuse. Methamphetamine 2019. [Cited 2021 Mar 25]. Available from: //www.drugabuse.gov/publications/research-reports/methamphetamine/overview

Palanuvej C, Issaravanich S, Rungphitackchai B, Chinveschakitvanich V, Danthamrongkul V. Chemical Analysis of Illicit Amphetamines. Thai J Hlth Resch 1997; 2: 73-80.

Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Impact of prenatal illicit drug exposure on the mother and infant. Chula Med J 2004; 48: 235-45.

Wright TE, Schuetter R, Tellei J, Sauvage L. Methamphetamines and pregnancy outcomes. J Addict Med 2015; 9: 111-7.

Wu M, Lagasse LL, Wouldes TA, Arria AM, Wilcox T, Derauf C, et al. Predictors of inadequate prenatal care in methamphetamine-using mothers in New Zealand and the United States. Matern Child Health J 2013; 17: 566-75.

Committee Opinion No. 479. Methamphetamine abuse in women of reproductive age. Obstet Gynecol 2011; 117: 751-5.

Homsup P, Phaloprakarn C, Tangjitgamol S, Manusirivithaya S. Maternal characteristics and pregnancy outcomes among illicit drug-using women in an urban setting. Taiwan J Obstet Gynecol 2018; 57: 83-8.

Gorman MC, Orme KS, Nguyen NT, Kent EJ 3rd, Caughey AB. Outcomes in pregnancies complicated by methamphetamine use. Am J Obstet Gynecol 2014; 211: 429.e1-4.

Good MM, Solt I, Acuna JG, Rotmensch S, Kim MJ. Methamphetamine use during pregnancy: maternal and neonatal implications. Obstet Gynecol 2010; 116: 330-4.

Robert R., Michael FG, Charles JL, Joshua AC, Thomas RM, Robert MS. Substance abuse in pregnancy. In Creasy and Resnik’s maternal-fetal medicine. 8th ed, Elsevier. Philadelphia, 2019; 1254-5.

Fox R, Kitt J, Leeson P, Aye CYL, Lewandowski AJ. Preeclampsia: Risk Factors, Diagnosis, Management, and the Cardiovascular Impact on the Offspring. J Clin Med 2019 4;8 :1625.

Suriyaprom K, Tanateerabunjong R, Tungtrongchitr A, Tungtrongchitr R. Alterations in malondialdehyde levels and laboratory parameters among methamphetamine abusers. J Med Assoc Thai 2011; 94: 1533-9.

Ganapathy V V, Prasad PD, Ganapathy ME, Leibach FH. Drugs of abuse and placental transport. Adv Drug Deliv Rev 1999; 38: 99-110.

Chomchai C, Na Manorom N, Watanarungsan P, Yossuck P, Chomchai S. Methamphetamine abuse during pregnancy and its health impact on neonates born at Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004; 35: 228-31.

Shah R, Diaz SD, Arria A, LaGasse LL, Derauf C, Newman E, et al. Prenatal methamphetamine exposure and short-term maternal and infant medical outcomes. Am J Perinatol 2012; 29: 391-400.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01