การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จันทร์เพ็ญ ชินคำ
  • อัจฉรา วริลุน
  • สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โปรแกรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอดบุตรคนแรก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม 1) แพทย์และพยาบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) มารดาหลังคลอดบุตรคนแรก
3) ครอบครัวมารดาหลังคลอด การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติ สังเกตการณ์และการสะท้อน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 4) แบบประเมินความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและ ครอบครัว ประกอบด้วย แผนกฝากครรภ์ 1) ให้ความรู้เรื่องนมแม่ 2) ฝึกการตรวจประเมินเต้านม หัวนมและการแก้ไข  ห้องคลอด 1) ให้มารดาได้โอบกอดทารกทันทีหลังคลอดการดูแลแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin care)  2) ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ดูดนมแม่ครั้งแรกภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอดโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ และหลังคลอด ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอดเวลา (rooming in) วันที่ 1ให้ความรู้ กลไกการสร้างและการหลั่งน้ำนม  การช่วยเหลือเอาบุตรเข้าเต้า วันที่ 2 ให้ความรู้การบีบน้ำนมจากเต้า  ให้ความรู้แก้ไขปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยกิจกรรมที่ให้มีครอบครัวร่วมด้วย พบว่ามารดาหลังคลอดบุตรคนแรก มีคะแนนความรู้มากกว่าหรือเท่ากับ 70 % คิดเป็นร้อยละ 60 (= 8, SD=1.98) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการประเมินการเข้าเต้า พบว่ามารดาหลังคลอดวันที่ 2  มีคะแนนสูงกว่าวันที่ 1 (= 8.7, SD=0.48) ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัวต่อการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อรายการประเมิน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56  (SD=0.15 )

สรุปผลการศึกษา : ควรมีการจัดโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มารดาครรภ์แรกมีความมั่นใจในทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น

References

พรณิศา แสนบุญส่ง และ วรรณดา มลิวรรณ์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีคุณภาพ: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบทบาทพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2559; 8: 225-237.

วีณา จีระแพทย์และเกรียงศักดิ์ วีระแพทย์. กลวิธีสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส จำกัด; 2563.

พัตนี วินิจจะกูลและ อรพร ดำรงวงศ์ศิริ. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พุทธมณฑล นครปฐม 2 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล วารสารโภชนาการ 2563; 55: 66-81.

นวพร มามาก และกมลรัตน์ เทอร์เนอร์. บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารกองการพยาบาล.2559;43:114-126.

รณชัย คนบุญ และ สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทบิดาต่อ พฤติกรรมการสนับสนุนของบิดาและระยะเวลาในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอย่างเดียว วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560; 40: 41-52.

สุรีย์พร กฤษเจริญ, โสเพ็ญ ชูนวล, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช, กัญจนี พลอินทร์. ผลของ โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลต่อการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนแม่ในภาคใต้.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37: 67-76.

ประชุมพร สุวรรณรัตน์. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

นันทิยา วัฒายุ. การสนับสนุนของครอบครัว ชุมชนและสังคมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. โครงการ ตําราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: พรี - วัน; 2555.

McTaggart, Robin, and Stephen Kemmis, eds. The action research planner. Burwood: Deakinuniversity; 1988.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. Nursing Research: Principles and Methods 5th ed. Philadelphia; 1995.

นงเยาว์ ใบยา, สุขวดี เกษสุวรรณ, น้ำทิพย์ แพ้ชัยภูมิ, และภาวิน พัวพรพงษ์. ผลของการพัฒนา ระบบบริการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาหลังคลอด และครอบครัวโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. [อินเทอร์เน็ต]. นครนายก: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก :https://dric.nrct.go.th/.

Adams D, Hewell S. Maternal and professional assessment of breastfeeding. J Hum Lact 1997; 13: 83 - 279.

ขนิษฐา เมฆกมล จรัญญา ดีจะโปะ และ ชญาดา เนตรกระจ่าง. ผลของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่โดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อความรู้ทัศนคติของมารดาหลังคลอดและครอบครัวและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2556; 24: 47-59.

สิริลัดดา บุญเนาว์และสร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนของมารดาหลังคลอดก่อนจำหน่าย โรงพยาบาลชัยภูมิ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2559; 39: 11-21.

ลักขณา ไชยนอก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. [รายงานวิจัย สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและ ผดุงครรภ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี สุรนารี; 2558.

ภาวิน พัวพรพงษ์, เกษม เรืองรองมรกต, สุทธา หามนตรี, สุขวดี เกษสุวรรณ, และ ศินัฐชานันท์ วงษ์อินทร์. คะแนนการเข้าเต้ากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555; 23: 8-14.

Sowjanya SVNS, Venugopalan L. LATCH Score as a predictor of exclusive breastfeeding at 6 weeks postpartum. Breastfeed Med 2018; 13: 9- 444.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28