ผลการพัฒนากระบวนการพยาบาลทารกแรกเกิดในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • สัตยา ไชยเสริฐ โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • จริญญา พลหาญ

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ผู้ป่วยนอก, กระบวนการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนากระบวนการพยาบาลทารกแรกเกิดในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมุกดาหาร                                                        

รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้วงล้อคุณภาพของเดมมิ่งเป็นตัวขับเคลื่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดทุกรายที่มารับบริการตั้งแต่ พฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ผลการศึกษา : ทารกแรกเกิดจำนวน 300 ราย เป็นเพศชาย 154 ราย (ร้อยละ 51.3) เพศหญิง 146 ราย (ร้อยละ 48.7) อายุเฉลี่ย 14.8(+9.3) วัน การวินิจฉัยโรค 5 อันดับแรก คือภาวะตัวเหลือง 151 ราย (ร้อยละ 50.3 ), คลอดครบกำหนด 116 ราย (ร้อยละ 38.7), คลอดก่อนกำหนด 61 ราย (ร้อยละ20.3 ), น้ำหนักน้อย 48 ราย (ร้อยละ 16.0) และโลหิตจาง 27 ราย (ร้อยละ 9.0) ระยะเวลาการรับบริการน้อยกว่า 90 นาที 264 ราย (ร้อยละ 88.0) ความสมบูรณ์ของการประเมินสุขภาวะทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 31 เป็น ร้อยละ 77

สรุปผลการศึกษา : สามารถให้บริการทารกและครอบครัวครบทุกขั้นตอนในระยะเวลาที่เหมาะสม

References

แสงแข ชำนาญนวกิจ, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ. Newborn Experience at OPD. ใน: ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อารียา เทพชาตรี, นภอร ภาวิจิตร และคณะ, บรรณาธิการ. Ambulatory Pediatrics: Guide and Clue in Management. กรุงเทพ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556.

วิไล เลิศธรรมเทวี, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง (Health Assessment of High-Risk Neonates). ใน: วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพ: พรี-วัน; 2559.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย ของประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ซัคเซ็สฟูล; 2561.

ชลดา จันทร์ขาว. การพยาบาลทารกแรกเกิด. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

ตรรกพร สุขเกษม. ผลการสอนโดยใช้วงจรพีดีซีเอที่ส่งผลต่อคุณภาพผลงานของนักศึกษา โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในรายวิชาธรรมาภิบาลในการจัดการ ภาครัฐ ภาคเรียนที่ 2/2560[รายงานวิจัยในชั้นเรียน]. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2560.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, ชุติกาญจน์ หฤทัย, ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, วารี วณิชปัญจพล, โศภิษฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์, บรรณาธิการ. การประกันคุณภาพการพยาบาล : การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยนอก. กรุงเทพ: สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ); 2558.

พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, อิสราภา ชื่นสุวรรณ. การดูแลสุขภาพเด็กและวัยรุ่นตามวัย. ใน: พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ และ คณะ, บรรณาธิการ. Guideline in Child Health Supervision. กรุงเทพ: ปริ้นท์แอนด์; 2558.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามเกณฑ์หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน; 2558.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ซัคเซ็สฟูล; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28