นวัตกรรมกดจุดด้วยตนเองในนักกีฬาวิ่งเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหน้าแข้ง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ จันทร์แอ 0849341463
  • วรินทร์ โอนอ่อน
  • ภานิชา พงศ์นราทร
  • คัทรียา รำเพยพล
  • สุภาวดี วังทอง

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, กลุ่มอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง, นักกรีฑา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนานวัตกรรมกดจุดด้วยตนเองที่ใช้ในนักกีฬาวิ่งเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อหน้าแข้งและเป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหน้าแข้งก่อนและหลังการทดลอง

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักกีฬาวิ่ง จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยนวัตกรรมกดจุดด้วยตนเองและคู่มือการใช้นวัตกรรมและแบบสอบถามการวิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56 มีอายุระหว่าง 25-31 ปี ร้อยละ 74 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 26 และพบอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหน้าแข้งหลังจากการวิ่งออกกำลังกายเสร็จทันที ร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหน้าแข้งหลังการทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 พบว่าหลังการทดลองอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหน้าแข้ง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหน้าแข้ง เท่ากับ -1.32 คะแนน

สรุปผลการศึกษา : นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถนำไปเป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้กดจุดด้วยตนเองเบื้องต้นก่อนที่จะเข้ารับการรักษาของสถานบริการของรัฐ

References

Runnercart. อาการสันหน้าแข้งอักเสบ (Shin sprints). [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.runnercart.com.

เจริญ กระบวนรัตน์. หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. 41 ท่าศิลปะการนวดตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา; 2548.

Elena, C., Jensen, M. P., Baeyer, C. L., & Jordi, M. Psychometric properties

of the numerical rating scale to assess self-reported pain intensity in children and adolescents: A systematic review. The Clinical Journal of Pain 2017; 33(4): 376-383.

Sander Bliekendaal, Maarten Moen, Young Fokker, Janine H Stubbe, Jos Twisk, Evert Verhagen. Incidence and risk factors of medial tibial stress syndrome: a prospective study in physical education teacher education students. BMJ open sport & exercise medicine 2018; 6(11): 1-7.

กลางเดือน โพชนาและองุ่น สังขพงศ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กรณีศึกษานักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. Journal of Public Health 2557; 44 (2): 1-12.

Melzack, R. and Wall, P.D.. Pain mechaisms: a new theory. Science 1967;11(2): 89

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27