ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิโรตม์ จันทรักษา

คำสำคัญ:

วัณโรค, ปัจจัยเสี่ยง, การเสียชีวิต

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดของเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานวัณโรคในพื้นที่

          รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาย้อนหลังโดยทบทวนประวัติการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ลงทะเบียนที่โรงพยาบาลมหาสารคามตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยค่าจำนวนและร้อยละ ส่วนข้อมูลปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square test ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตและกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตระหว่างการรักษา และใช้ Odd Ratios วิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์ที่ช่วงค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (95% Confidence Interval)

          ผลการศึกษา : ผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 1,162 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (2.5:1) ผู้ป่วย ร้อยละ 37.3 มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคร่วม ร้อยละ 43.7 มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 185 ราย คิดเป็น ร้อยละ 15.9 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสียชีวิตคือผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี (OR=3.3, 95%CI (2.40-4.58, p<0.001) ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ (OR=2.13, 95%CI (1.54-2.92, p<0.001) มีโรคร่วม (OR=2.25, 95%CI 1.63-3.10, p<0.001) โรคตับ (OR=4.81, 95%CI 2.60-8.91, p<0.001) โรคไตวายเรื้อรัง (OR=3.72 ,95% CI 1.86-7.47, p<0.001) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (OR=2.77, 95% CI 1.94-5.49, p<0.05) ติดสุราเรื้อรัง (OR=2.59, 95%CI 1.20-5.60, p<0.05) น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) (OR=1.72, 95% CI 1.25-2.36, p<0.001) สูบบุหรี่ (OR=1.54, 95% CI 1.12-2.11, p<0.05) ดื่มแอลกอฮอล์ (OR=1.45, 95% CI 1.05-1.99, p<0.05)  

          สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาเกิดจากผู้ป่วยสูงอายุ การมีโรคร่วม ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และติดสุราเรื้อรัง

References

World Health Organization. The End TB Stratergy, 2016. Geneva: World Health Organization; 2016.

World Health Organization. Global Tuberculosis report 2020. Geneva: World Health

Organization; 2020.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, พรทิพย์ ศิริภานุมาศ, บรรณาธิการ. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดําเนินงานขับเคลื่อนงานวัณโรคภายใต้กรอบคํารับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข (Performance Agreement : PA) และแนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.

วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค ระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23(1): 22-34.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, ยงยุทธ์ เม้ากำเนิด, พงศ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม, นันทพร ทำมาตา, ภิเษก ศิรวงษ์, นภดล วันต๊ะ. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่. พุทธชินราชเวชสาร 2556; 30(3): 276-85.

อัมพาพันธุ์ วรรณพงศภัค, กิตติกาญจน์ มูลฟอง. ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน.วารสารสาธารณสุขลานนา 2560; 13(2): 72-85.

พัฒนา แก้วโพธิ์, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน, นภาวรรณ สุกรภาส, สุดาณี บูรณเบ็ญจเสถียร,วิรัช กลิ่นบัวแย้ม, และคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัติวิกฤติ 2556; 34(2): 51-62.

อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2562; 33 (1): 91-102.

Saiyud Moolphate, Myo Nyein Aung, Oranuch Nampaisan, et al. Time of highest tuberculosis death risk and associated factors: an observation of 12 years in Northern Thailand. Int J Gen Med 2011; 4: 181–190.

จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคา, ฤทัยรัตน์ แสงนา, วีรพันธ์ การบรรจง, กนกรส โค้วจริยพันธุ์, และคณะ.ปัจจัยเกี่ยวเนื่องอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2559; 8(1): 53-59.

ฐานันดร์ ฐานวิเศษ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ.ชัยภูมิเวชสาร 2562; 40(1): 97-107.

เจริญศรี แซ่ตั้ง.ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 436-447.

กรีฑา ธรรมคำภีร์.การตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฎิบัติการ.ใน กรีฑา ธรรมคำภีร์ บรรณาธิการ.วัณโรคปอดในศตวรรษที่ 21: Pulmonary Tuberculosis in the 21th Century.กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562. 85-101.

วรางคณา กีรติชนานนท์.การรักษาวัณโรคในกรณีพิเศษ.ใน กรีฑา ธรรมคำภีร์ บรรณาธิการ.วัณโรคปอดในศตวรรษที่ 21: Pulmonary Tuberculosis in the 21th Century.กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562. 189-217.

นิธิพัฒน์ เจียรกุล.วัณโรค.ใน นิธิพัฒน์ เจียรกุล บรรณาธิการ.ตำราโรคระบบการหายใจ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2551. 328-347.

Padmapriyadarsini C, Shobana M, Lakshmi M, Beena T, Swaminathan S. Undernutrition & tuberculosis in India: Situation analysis & the way forward. Indian J Med Res 2016; 144:11–20.

Dargie B, Tesfaye G, Worku A. Prevalence and associated factors of undernutrition among adult tuberculosis patients in some selected public health facilities of Addis Ababa, Ethiopia: a crosssectional study. BMC Nutrition 2016; 2-7.

Warmelink I, Hacken NHt, Werf TSvd, Altena Rv. Weight loss during tuberculosis treatment is an important risk factor for drug-induced hepatotoxicity. Br J Nutr 2011; 105:400–408.

Liu B-Q, Peto R, Chen Z-M, Boreham J, Wu Y-P, Li J-Y, Campbell TC, Chen J-S. Emerging tobacco hazards in China: 1. Retrospective proportional mortality study of one million deaths. BMJ. 1998; 317(7170): 1411–1422.

Kolappan C, Gopi P. Tobacco smoking and pulmonary tuberculosis. Thorax 2002; 57(11): 964–966.

Gamble L, Mason C, Nelson S. The effects of alcohol on immunity and bacterial infection in the lung. Médecine Mal Infect 2006; 36(2): 72-77.

Molina PE, Happel KI, Zhang P, Kolls JK, Nelson S. Focus on: Alcohol and the immune system. Alcohol Res Health 2010; 33(1–2): 97–108.

Barr T, Helms C, Grant K, Messaoudi I. Opposing effects of alcohol on the immune system. Prog Neuropsychopharmacol Biol Psychiatry 2016; 65: 242–251

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31