การสร้างและการพัฒนามาตรการชุมชนเพื่อการควบคุมการบริโภคและการจำหน่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • ปรีชา ยะถา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง
  • บุญชอบ สิงห์คำ ประชาคมงดเหล้ามหาสารคาม
  • กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • สุนีรัตน์ สิงห์คำ ประชาคมงดเหล้ามหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, มาตรการชุมชน, การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริโภคและการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน 2. เพื่อศึกษาการสร้างและการพัฒนามาตรการชุมชนเพื่อการควบคุมการบริโภคและการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1. ศึกษาสภาพปัญหา 2. วางแผนการพัฒนาแก้ไขปัญหา 3. นำกระบวนการแก้ไขปัญหาสู่การปฏิบัติ 4. ประเมินผลการพัฒนา ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา 1) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 576 คน 2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 60 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา  

          ผลการศึกษา : 1. สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน พบว่า ไม่เคยดื่มเลย ร้อยละ 57.7 ยังดื่มอยู่ ร้อยละ 29.3 อายุเฉลี่ยที่ดื่มครั้งแรก 22 ปี ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย เดือนละ 467 บาทต่อเดือน เบียร์มากที่สุด ร้อยละ 52 ความถี่ในการดื่มคือ เดือนละ 1-3 วัน/เดือน ร้อยละ 26.9 ดื่มครั้งละประมาณ 2 ขวด ผลกระทบที่เกิดขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน  เจ็บป่วย ทะเลาะวิวาท  2. การสร้างและการพัฒนามาตรการชุมชนในการแก้ไขปัญหา คือ 1) การทำแผนมาตรการชุมชน 2) การทำธรรมนูญสุขภาวะตำบลดงบัง 3) รณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5) อบรมการทำสติบำบัด  3. ภาพรวมการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลดงบัง อยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.52 ) ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.49 )

          สรุปผลการศึกษา : การสร้างและการพัฒนามาตรการชุมชนเพื่อการควบคุมการบริโภคและการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปแก้ปัญหาในชุมชนได้อย่างชัดเจน และมีแนวทางในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม

References

Casswell S, Thamarangsi T. Reducing harm from alcohol: call to action.The Lancet 2009; 9682: 2247-2257.

Babor T, Caetano R, Casswell S, Edwards G, Giesbrecht G, Graham K, et al.Alcohol No Ordinary Commodity forthcoming. Oxford: University Press ; 2010.

สำนักงานกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551.ราชกิจจานุเบกษา 2551 :34-49.

ทักษพล ธรรมรังสี. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. นนทบุรี : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ; 2556.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์, กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, ทักษพล ธรรมรังสี.รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2554. นนทบุรี : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ; 2556.

สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานความก้าวหน้าโครงการประเมินตามแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพ ฯ : สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ ; 2557

กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์,กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 2 : 8-16.

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การบริโภคและนโยบายการป้องกันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ; 2560.

Kemmis S, McTaggart R, editors .The action research planner.Victoria : Deakini University ;1988.

บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีวัยแรงงานภาคเกษตรกรรม.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 3 ; 143-158

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และคณะ.การประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่7.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563 ; 3 ; 16-26.

เลิศ ดาวสุวรรณ. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.

พีรพัฒน์ พันศิริ. การพัฒนาองค์กรชุมชน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2559.

โกวิทย์ พวงงาม. การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

สมพงษ์ จันทร์ขอนแก่น.การพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา: อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 2; 30-41.

สมคิด ศรีสิงค์. ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมชุมชนของ ประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Nakhonratcha 2557; 2; 57- 63.

พีรพัฒน์ เก้ากัญญา. การมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิผลในการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31