ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท เขตเทศบาลอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • มนฑิญา กงลา คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุในชนบท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท เขตเทศบาลตำบลศรีธาตุ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 247 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Proportional Stratified Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกลำดับ (Ordinal logistic regression) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ผลการศึกษา :  ผู้สูงอายุประมาณครึ่งมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.9  รองลงมาร้อยละ 21.9 ระดับดี และร้อยละ 18.2 ระดับไม่ดี เมื่อพิจารณารายด้านตามองค์ประกอบในการวัดคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ สุขภาพกาย ร้อยละ 63.6  จิตใจ ร้อยละ 61.5 สัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 43.3 และสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 61.1 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท เขตเทศบาลอำเภอศรีธาตุ จังหวัด ได้แก่ ปัจจัยนำด้านเพศ (95% CI: 1.20-3.86, p-value = 0.010)  การรับรู้ภาวะสุขภาพ (95% CI: 1.61-10.62, p-value = 0.003) ปัจจัยเอื้อ การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข (95% CI: 0.20-0.79, p-value = 0.009) การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชุมชน (95% CI: 0.24-0.99,    p-value = 0.050) ปัจจัยเสริม การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (95% CI: 2.12-23.15, p-value = 0.001) 
สรุปผลการศึกษา :  
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางภาพรวมในทุกด้าน และมีปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพื่อให้ผู้สูอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไป

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/e-Book.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข 2 ปี (พ.ศ.2564-พ.ศ.2565) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.udo.moph.go.th/docs_temp/plan2564.pdf.

World Health Organization. Measuring quality of life [อินเทอร์เน็ต]. 1997 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/63482/WHO_MSA_MNH_PSF_97.4.pdf?sequence=1&isAllowed=y

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. คุณภาพชีวิต : การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 3: 64-70.

วาสนา หลวงพิทักษ์, จิตติมา ดวงแก้ว, อุมากร ใจยั่งยืน, เพ็ญรุ่ง วรรณดี. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 38: 67-81.

ศิรินุช ฉายแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดอำนาจเจริญ [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.

GC P, Tiraphat S, Chompikul J. Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal. Journal of Public Health and Development 2017; 3: 51-64.

Rong J, Ding H, Chen G, Ge Y, Xie T, Meng N. Quality of life (QoL) of rural poor elderly in Anhui, China. Medicine 2020;6:1-9.

กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลตำบลศรีธาตุ. แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มกราคม 23]. เข้าถึงได้จาก: https://www.srithat-ud.go.th/index/add_file/muwmQCeTue24821.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

Yodmai K, Somrongthong R, Kumar R. Determinants of quality of life among rural elderly population in Khonkean province of Thailand. Journal of the Liaquat University of Medical and Health Sciences. 2018; 3: 180-4.

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององคการอนามัยโลกชุดยอ ฉบับภาษาไทย

(WHOQOL-BREF–THAI).[อินเทอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 12].เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

เพชรธยา แป้นวงษา, ไพฑูรย์ สอนทน, กมล อยู่สุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบทจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2563; 2: 41-56.

ศิรินันท์ สุขศรี, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2560; 4: 73-84.

สุรจิตต์ วุฒิการณ์, พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง, ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. รายงานสืบเนื่องจากรายงานการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2563]:15 [341-357]. เข้าถึงได้จาก: https://gs.nsru.ac.th/files/2/26%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C%20%20%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.pdf

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, ภาณุมาศ ทองเหลี่ยม, ศิริยากร ทรัพย์ประเสริฐ. ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข2562; 3: 394-401.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27