อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปีงบประมาณ 2556 - 2559
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกและเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกแยกตามสูตรยาที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์ในโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมในปีงบประมาณ 2556 - 2559
รูปแบบการศึกษาและวิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจข้อมูลที่คลินิกจากงานโรคติดต่อในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวีทุกรายที่มาคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์หาอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก และเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกแยกตามสูตรยาที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์ โดยใช ้ สถิติวิืเคราะห์ One-way ANOVA
ผลการศึกษา : จำนวนหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 11,812 คน พบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 47 ราย คิดเป็น ร้อยละ 0.40 ความครอบคลุมการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ร้อยละ 100 ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 93.94 ไม่ฝากครรภ์ ร้อยละ 10.64 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาต้านไวรัสก่อนคลอด > 4 สัปดาห์ก่อนคลอด ร้อยละ 89.36 สูตรยาที่ได้รับ AZT + 3TC + NVP ร้อยละ 7.17, AZT + 3TC + LPV/r ร้อยละ 64.26 และ TDF + 3TC + EFV ร้อยละ 28.57 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 44 คลอดด้วยวิธีการผ่าตัด ร้อยละ 67.39 และ ทำหมันร้อยละ 42.55 ทารกคลอดมีชีพจำนวน 46 ราย คิดเป็น ร้อยละ 97.87เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 1 ราย คิดเป็น ร้อยละ 2.13 ทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 13.04 น้ำหนักเฉลี่ย 2,661.65 กรัม คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 13.04 ความครอบคลุมในการได้รับยาต้านไวรัสและการได้รับนมผงของทารกมีความครอบคลุม ร้อยละ 100 อัตรา การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR ครั ้งที่ 1 ร้อยละ 100 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 89.13 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 23.91 ขาดนัดจำนวน 5 ราย คิดเป็น ร้อยละ 10.87 อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ร้อยละ 0 และไม่มีความแตกต่างของการติดเชื้อจากเอชไอวีจากแม่สู่ลูก แยกตามสูตรยาที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์อย่างนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุป : อัตราการติดเชื้อการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมในปีงบประมาณ 2556 - 2559 คือ ร้อยละ 0 และไม่มีความแตกต่างของการติดเชื้อจากเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก แยกตามสูตรยาที ่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01
References
2. Naiwatanakul T, Boonsuk S, Lolekha R et al. Assessment of a national early infant diagnosis program and linkage of HIV- infected infants to HIV treatment and care,
Thailand 2008-2011. AIDS 2014, Abstractno. A-641-0238-06501.
3. Persaud D, Gay H, Ziemniak C, Chen YH, Piatak M, Jr., Chun TW, et al. Absence of detectable HIV-1 viremia after treatment cessation in an infant. The New England journal of
medicine. [Case Reports 2013 Nov 7;369(19):1828-35.
4. Cotton MF, Violari A, Otwombe K, Panchia R, Dobbels E, Rabie H, et al. Early timelimited antiretroviral therapy versus deferred therapy in South African infants infected with HIV : results from the children with HIV early antiretroviral (CHER) randomised trial. Lancet 2013 Nov 9; 382( 9904) : 1555-63.
5. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ โรคเอดส์ ประเทศไทย เล่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร :ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย;2546.
6. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานการดำเนินงานเพื ่อป้องกันการแพร่เอชไอวีจากแม่สู่ลูกและการดูแลแม่และลูกที่ติดเชื้อเอชไอวี.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย; 2548.
7. Shearer WT, Quinn TC, La Russa P. Viral load and disease progression in infants infected with human immunodeficiency virus type 1. N Eng J Med 1997 ; 336 : 1337 – 42 .
8. Landsrnan SH, Kalish L, Burns DN.Obstetrical factors and the transmission of human immunodeficiency virus from mother–to – child. N Engl J M e d 1996 ; 334 : 1617-23.
9. Minkoff H, Burns DN, Landesman S. The relationship of the duration of ruptured membranes to vertical transmission of human immunodeficiency virus. Am J Obstet
Gynecol 1995 ; 173 : 585 – 589 .
10.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด;2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม