ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม ในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ รักษาพล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ออกกำลังกาย, เสริมความมั่นคงของข้อไหล่, ข้อไหล่ติด, กายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยข้อไหล่ติด

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) แบบวิธีการสุ่ม ในผู้ป่วยข้อไหล่ติดที่ได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด ที่งานกายภาพบำบัด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 30 เมษายน 2564 จำนวน 22 คน ใช้ชุดการสอนโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ วัดผลลัพธ์ด้วยแบบประเมินดรรชนีความเจ็บปวดและสมรรถภาพของหัวไหล่ แบบประเมินความปวด แบบบันทึกค่าช่วงการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ผลการศึกษา :  ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนดรรชนีความเจ็บปวดและสมรรถภาพของหัวไหล่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม -17.53 คะแนน (95% CI : -29.59, -5.46) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.007)  มีคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม -2.10 คะแนน (95% CI : -3.31, -0.89) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.002)  และมีช่วงการเคลื่อนไหวแบบ Active ในท่า abduction กลุ่มทดลองมีมากกว่ากลุ่มควบคุม 19.60 องศา (95% CI : 0.79, 38.41) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.042)

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่นี้ สามารถลดอาการปวด เพิ่มสมรรถภาพของหัวไหล่ และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในท่า abduction ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม สามารถนำไปประยุกต์ให้ผู้ป่วยใช้ที่บ้านได้

References

Dias R, Cutts S, Massoud S. Frozen shoulder. BMJ. 2005; 331: 1453-6.

Kelley MJ, McClure PW, Leggin BG. Frozen shoulder: evidence and a proposed model guiding rehabilitation. JOSPT 2009; 39: 135–148.

Neviaser AS, Neviaser RJ. Adhesive capsulitis of the shoulder. J Am Acad Orthop Surg 2011; 19: 536-42.

วินัย ศิริชาติวาปี. ข้อไหล่ติด. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2544; 16: 81–85.

Shah N, Lewis M. Shoulder adhesive capsulitis: systematic review of randomised trials using multiple corticosteroid injections. Br J Gen Pract 2007; 57: 662-7.

Steuri R, Sattelmayer M, ElsigS,Kolly C, Tal A,Taeymans J, et.al. Effectiveness of conservative interventions including exercise, manual therapy and medical management in adults with shoulder impingement: a systematic review and meta-analysis of RCTs. Br J Sports Med. 2017; 51: 1340–1347.

สุภาพร วรรณมณี, อรวรรณ ประศาสน์วุฒิ. ประสิทธิผลของการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ในผู้ป่วยถุงหุ้มข้อไหล่ยึดติด. วารสารกายภาพบำบัด 2562; 41: 112–128.

Bernard R, editor. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbery (MA): Thomson learning; 2000.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D.Program-The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University; 2014.

Turgut E, Duzgun I, Baltaci G. Effects of Scapular Stabilization Exercise Training on Scapular Kinematics, Disability, and Pain in Subacromial Impingement: A Randomized Controlled Trial. Arch Phys Med Rehabil 2017; 98: 1915-1923.

Ruiz JO. Positional Stretching of the Coracohumeral Ligament on a Patient with Adhesive Capsulitis: A Case Report. J Man Manip Ther 2009; 17(1): 58–63.

Kumar A, Kumar S, Aggarwal A, Kumar R, and Das PG. Effectiveness of Maitland Techniques in Idiopathic Shoulder Adhesive Capsulitis. ISRN Rehabilitation. 2012, Article ID 710235, 8 pages.

สายใจ นกหนู, มณีภรย์ บกสวัสดิ์, มุคลิส อาม๊ะ. ผลของโปรแกรมการออกำลังกายต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ยึดติด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561; 10: 88-98.

ณัชกานต์ อินต๊ะรินทร์, สาโรจน์ ประพรมมา. ประสิทธิภาพการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายโดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561; 1: 1–14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27