รูปแบบการรณรงค์มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่สีเขียวไร้ควันบุหรี่

ผู้แต่ง

  • กรกนก ตระกูลการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
  • วรรณภัทรพร สิริโพธิ์แก้ว

คำสำคัญ:

การรณรงค์, พื้นที่สีเขียวไร้ควันบุหรี่

บทคัดย่อ

       วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษารูปแบบของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัย 2. ศึกษาผลของการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัย

       รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยวงจรปฏิบัติการ 4 ระยะ 4 วงจรแบบขดลวด PAOR  ระยะ 1 การศึกษาสถานการณ์ของปัญหา ระยะ 2 ระดมสมองและพัฒนารูปแบบ ระยะ 3 นำรูปแบบทดลองใช้ ระยะ4 สรุปประเมินผลและเสนอผู้บริหาร เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561  ผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่นักศึกษาอาสาสมัครเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม 60 คน กลุ่มเป้าหมายรณรงค์ 243 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ สื่อรณรงค์ แนวทางการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม โปรแกรมให้ความรู้และแบบสอบถามก่อนและหลังให้ความรู้ และแนวคำถามสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการหาค่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ Paired t -test one group design ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

       ผลการศึกษา : ได้รูปแบบ 4 รูปแบบ คือการรณรงค์ติดป้ายขนาดใหญ่ประกาศให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย การรณรงค์ติดสติ้กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่เคยมีการสูบ การรณรงค์สร้างกระแสไม่สูบบุหรี่ และการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องภัยบุหรี่ กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่และการป้องกันภัยบุหรี่ ผ่านระบบออนไลน์ หลังเข้าโปรแกรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.86 (ปานกลาง) เป็น ร้อยละ 85.47
(ดีมาก) ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่หลังเข้าโปรแกรมไม่มีความแตกต่างกัน (p >.05) ผู้ที่สูบบุหรี่ (n=60) หลังเข้าโปรแกรม มีพฤติรรมการป้องกันภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น p ‹ 0.05 ผู้ไม่สูบบุหรี่ (n=183) หลังเข้าโปรแกรมมีพฤติกรรมการป้องกันภัยบุหรี่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p ‹ 0.05

       สรุปผลการศึกษา : การรณรงค์ประกาศให้มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ทำให้ผู้สูบไม่อยากสูบบุหรี่ การประกาศห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่เคยมีการสูบทำให้ไม่มีผู้สูบบุหรี่บริเวณนั้น การให้ความรู้ผ่านโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีความน่าสนใจมีผลต่อความรู้และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภัยบุหรี่ รูปแบบที่ไม่มีผลต่อกลุ่มเป้าหมายคือการรณรงค์สร้างกระแสไม่สูบบุหรี่เพราะเป็นรูปแบบที่คุ้นชิน

References

World Health Organization. WHO Global Report on Trends in Prevalence

of Tobacco Smoking 2000 – 2025. Switzerland: World Health Organization [Internet]. third edition. Geneva: World Health Organization; 2019. [cited 2017 May 19]. Available from: https://www.who.int/healthtopics/tobacco#tab=tab_1

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ข้อมูลการเสียชีวิตประชากร พ.ศ.2547- 2553. [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพมหานคร: บี.ซี.เพรส (บุญชิน); 2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=5878&filename=.

สุปราณี เสนาดิสัย, สุรินธร กลัมพากร. บรรณาธิการ. บุหรี่กับสุขภาพ: พยาบาลกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเบญจผล จำกัด; 2555.

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554. [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก/ https://www.nso.go.th.

Kemmis & Mc. Tagrat . The Action Research Planner. First edition. Geelon: Deakin University Press; 1990.

สำนักวิชาการและประมวลผลมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด. ข้อมูลนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://reru.ac.th/2020/index.php/job-reru/1855-641026-001.html.

ปัญญา คล้ายเดช. ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่1. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2558.

ชณิษฐ์ชา บุญเสริม, ผกามาศ สุฐิติวนิช, วรษา รวิสานนท์. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2552; 3(2): 6-14.

นิยม จันทร์นวลม, พลากร อิ่มสำราญ. สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559; 18(2): 1-10.

สุนิดา ปรีชาวงษ์, นัยนา วงศ์สายตามม, หริสร์ ทวีพัฒนา, สรัตนี แก้วคำ. การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารสุขศึกษา 2557; 37(128): 15-28.

พระมหาสุเทพสุปณุฑิโค(ผิวเผือด). แนวทางการจัดการปัญหาบุหรี่ในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2560; 20(20): 94-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27